• เข้าสู่ระบบซื้อขาย
  • เปิดบัญชีซื้อขาย 02-626-2222
  • Twitter
  • Facebook
  • Google+
  • RSS
Shining Gold Bullion
  • หน้าหลัก
  • ชายน์นิ่งโกลด์ กรุ๊ป
  • สินค้า/บริการ
    • ทองคำแท่งออนไลน์
    • โปรแกรมออมทองคำแท่ง
    • โปรแกรมฝากทองคำแท่ง
  • ชำระเงิน
  • เอกสาร
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา

ผลการประชุมกนง. ครั้งที่ 6/2019 -วันที่ 25 กันยายน 2562

25 September, 2019

By: Shining Gold News

category: บทความพิเศษ

205 0

ผลประชุมกนง. ครั้งที่ 6/2019 -วันที่ 25 กันยายน 2562

*กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50%

*ปรับลดคาดการณ์ GDPปี62 ลงเหลือ 2.8 % จากเดิม 3.3%

*ส่งออกหดตัวมากกว่าคาดส่งผลต่ออุปสงค์ในประเทศ

*อัตราเงินเฟ้อ 0.52% ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย

*ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายค่ะ


ผลประชุมกนง. ครั้งที่ 5/2019 -วันที่ 7 สิงหาคม 2562

……….**มีมติ 5:2 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 1.50% ต่อปี สวนคาดการณ์ (โดย 2 เสียง ออกเสียงให้คงคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75%)
……….**กนง.ระบุ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าประเมินและต่ำกว่าศักยภาพ-ส่งออกหดตัวมากกว่าคาด

ผลประชุมกนง. ครั้งที่ 4/2019 -วันที่ 26 มิถุนายน 2562

……….*มีมติคงอัตราดอกเบี้ย 1.75% เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
……….*เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินจากการส่งออกชะลอตัวตามเศรษฐกิจคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอตัวจากความร้อนแรงในประเด็นกีกกันการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน
……….*เป็นเหตุให้รายได้และการจ้างงานมีสัญญาณชะลอตัวตามมา
……….*การลงทุนภาคเอกชนมีการชะลอตัว_การย้ายฐานการผลิตมายังไทยและโครงการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยสนับสนุนการลงทุนในระยะต่อไป
……….*การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมิน
……….*ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวเนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก
……….*อัตราเงินเฟ้อทั่วไปใกล้เคียงระดับประเมิน
……….*อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้เดิม
……….*ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
……….*ภาคบริโภคเอกชนขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่ได้รับแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
……….**การไหลเข้าของเงินทุนในช่วงสั้น ๆ และปัจจัยในประเทศ คณะกรรมการฯ มีความกังวลต่อการแข็งค่าของเงินบาทซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและการไหลเข้าของเงินทุนอย่างใกล้ชิด

ผลประชุมกนง. ครั้งที่ 2/2019 -วันที่ 20 มีนาคม 2562

……….**กนง.มีมติเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75%
……….**เนื่องจากมองว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบัน มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ
……….**ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก และปัจจัยในประเทศที่สูงขึ้นในปัจจุบัน
……….**กนง.คาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐานปี 62 ที่ 0.8% (เดิมคาด 0.9%,0.9% ในปี62และ63)
……….**กนง. คงคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปปี 62 ที่ 1.0%, ปี 63 คาด 1.1%

ภาพแสดง : กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับเดิม 1.75% ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย 1-4%คะ

ผลการประชุมกนง. ครั้งที่ 1/2019 -วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562

……….**กนง.วันนี้มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี
………….โดย 2 เสียงเห็นว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.75% เป็น 2.00% ต่อปี โดยในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่านลาประชุม

ผลการประชุมกนง. ครั้งที่ 8/2018 -วันที่ 19 ธันวาคม 2561

……….**กนง.มีมติ 5:2 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาที่ 1.75% โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งเพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินสำหรับอนาคต

ภาพแสดง : การขยายตัวของ CPI กับ GDP ของไทยในช่วงที่ผ่านมาค่ะ

เป็นเหตุให้ กนง.ปรับลดประมาณการ GDP ปี 61 เหลือโต 4.2% จากเดิม 4.4% ส่วนปี 62 คาดโต 4.0% จากเดิม 4.2% ค่ะ

ถือเป็นครั้งแรกของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายนับตั้งแต่ปี 2011

ภาพแสดง : Thailand real Interest rate ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านค่ะ

ตารางประมาณการเศรษฐกิจปี 61-62 ในรายงานนโยบายการเงินของ ธปท.

ผลการประชุม กนง. ครั้งที่ 7/2018 วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561

……….**กนง.มีมติ 4:3 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% (ตามตลาดคาดการณ์)
โดยเสียงของกรรมการที่ให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 3 เสียง จากการประชุมรอบที่แล้วที่มี 2 เสียง

…………**คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้อุปสงค์ต่างประเทศมีสัญญาณชะลอลงบ้าง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีทิศทางเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้เดิม

………..**ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลาย และเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสะสมความเปราะบางในระบบการเงินได้ในอนาคต โดยเฉพาะจากภาวะการเงินที่ผ่อนคลายเป็นเวลานาน
………..**คณะกรรมการฯ เห็นว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบัน มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ส่วนกรรมการ 3 ท่าน เห็นว่าความต่อเนื่องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความชัดเจนเพียงพอ และภาวะการเงินที่ผ่อนคลายมากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินในอนาคตต่ำกว่าที่ควร จึงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนระยะยาว และเพื่อเริ่มสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) สำหรับอนาคต

………..**เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าการส่งออกจะมีสัญญาณชะลอลงบ้าง โดยส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน วัฎจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอลง และผลจากสภาวะอากาศของประเทศคู่ค้าที่เป็นปัจจัยชั่วคราว ขณะที่การท่องเที่ยวชะลอลง โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีน
……….**แรงส่งของอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวตามรายได้และการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้น แต่ยังได้รับแรงกดดันจากหนี้ภาคครัวเรือนที่อยูในระดับสูง สำหรับการลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มขยายตัวตามการย้ายฐานการผลิตมายังไทย และโครงการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐาน

………..**ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้เดิม จากความล่าช้าในการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวดี แต่เผชิญความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้ารหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่อาจมากกว่าคาด รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
………..**อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปียังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้เดิม แต่มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นตามความผันผวนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้เดิมตามแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต
สำหรับภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ภาคเอกชนสามารถระดมทุนได้ต่อเนื่อง โดยสินเชื่อขยายตัวทั้งสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่ออุปโภคบริโภค

………….**ด้านอัตราแลกเปลี่ยนนับจากการประชุมครั้งก่อน เงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเช่นเดียวกับเงินสกุลภูมิภาค จากความกังวลต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ในระยะข้างหน้า อัตราแลกเปลี่ยนยังมีแนวโน้มผันผวน

………….**คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป
………….**ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบางให้เสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคต โดยเฉพาะพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks)

………….**ส่าหรับภาวะการแข่งขันในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ส่งผลให้มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อลดลงได้รับการดูแลในระดับหนึ่ง ด้วยการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ให้ติดตามพฤติกรรมการก่อหนี้ของภาคครัวเรือน และความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเชิงโครงสร้างและรูปแบบการทำธุรกิจ

………..“มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้แรงส่งจากอุปสงค์ต่างประเทศชะลอลงบ้าง และอาจมีความเสี่ยงจากผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และจีนที่มากกว่าคาด รวมถึงต้องติดตามพัฒนาการของเงินเฟ้อ และความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในระยะต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไป แต่การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบัน จะทยอยลดความจำเป็นลง” เลขานุการ กนง.ระบุ

Thailand Government Bond Yield 2Y (Declined) .

GDP YoY และ CPI YoY เร่งขึ้นในอัตราที่ชะตัวเล็ก ๆ ขณะที่ กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่ปี 2015

ตัวเลขการส่งออกล่าสุดมิได้ Support เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้ค่ะ (ส่งออก – 5%)

ประเทศเพื่อนบ้าน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาดังภาพ ขณะที่ไทยคงอัตราดอกเบี้ยเช่นเดิมนับแต่ปี 2015

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยยังคงอย๋ใกล้เคียงระดับศูนย์ (0.27%) ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2018

ภาพสุดท้ายแสดง : อัตราเงินเฟ้อของไทย ยังเกาะกรอบ เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ค่ะ

ผลการประชุม กนง. 19 กันยายน 2561

…………**กนง.มีมติ 5:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5%

…………**กนง.ยังคงคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปปี 61 ที่ 1.1% และปี 62 คาดที่ 1.1% ลดลงจากเดิมที่ 1.2%

…………**กนง.คาดจีดีพีปี 61 ยังคงขยายตัวที่ 4.4% และปี 62 โต 4.2% เท่าเดิม

…………**กนง.คาดเงินเฟ้อพื้นฐานปี 61 คงไว้ที่ 0.7 % แต่คาดปี 62 ลดลง จาก 0.9% เหลือ 0.8%

อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 1.62%

แสดงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ผ่านมา พร้อมปัจจัยที่เข้ามากระทบ

แสดงการอัตราเงินเฟ้อก็ยังคงต่ำกว่าค่ากลางของเป้าหมาย BOT

ปีนี้ประเทศไทยยังไม่ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเลย ผิดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย ปรับขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้ง 125 basis point ขณะที่มาเลเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง 100 basis point

Thailand GDP เติบโตอย่างต่อเนื่อง

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศไทยเริ่มติดลบ

ผลการประชุม กนง. 8 สิงหาคม 2561
…………** กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี โดย 1 เสียง เห็นควรให้ปรับขึ้น 0.25% เป็น 1.75% ต่อปี
…………** ภาพรวม ศก.มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่หนี้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง ทำให้กำลังซื้อฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้านระบบการเงินมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบางในอนาคต โดยเฉพาะพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร
…………** ติดตามภาวะการแข่งขันในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและภาวะอุปทานคงค้างของอาคารชุดในบางพื้นที่อย่างใกล้ชิด รวมทั้งพฤติกรรมการก่อหนี้ของภาคครัวเรือน เนื่องจากสถานะหนี้ครัวเรือนยังไม่ปรับตัวดีขึ้น และติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเชิงโครงสร้างและรูปแบบการทำธุรกิจ

ผลการประชุม กนง. 20 มิถุนายน 2561
…………**กนง.มีมติ 5:1 ให้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50%
…………มองว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว และอุปสงค์ในประเทศที่มีแรงส่งเพิ่มขึ้น
…………คาดการส่งออกปีนี้จะเติบโตได้ถึง 9% ดีกว่าที่เคยคาดไว้ 7.0% ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ในปี 62 คาดว่าการส่งออกจะเติบโตชะลอลงมาที่ 5% แต่ยังสูงกว่าเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 3.6%

…………ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 61 เป็น 4.4% จากเดิม 4.1% และในปี 62 ปรับเพิ่มเป็นเติบโต 4.2% จากเดิม 4.1%