…     เชื่อว่า ..หลายท่าน คงตั้งข้อสงสัยว่า ทองคำจะกลับมาเป็นขาลงอีกหรือไม่ หาก FED เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบแข็งกร่าว เพื่อ ดึงอัตราเงินเฟ้อให้กลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายระยะกลาง 2.5%…. แต่หากว่าเฟดเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากจนเกินไปเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร Soft landing จะเกิดขึ้นได้จริง หรือ Recession จะมาแทนที่ ท่ามกลาง Invert Bond Yields ที่ส่งสัญญาณเตือนมาป็นระยะ สำหรับทองคำเองจะได้ประโยชน์จากการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ ความยืดเยื้อของสงครามหลังจากนี้อีกมากน้อยเพียงใด สุดท้ายแล้วนักลงทุนอย่างเราจะจับจังหวะการลงทุนอย่างไรดี…เพื่อให้ไม่ตกเทรนด์….

      การวิเคราะห์จาก Heraeus Precious Metals ระบุว่า การใช้นโยบายการเงินตึงตัวอาจจะไม่ได้ส่งผลเสียต่อราคาทองคำเสมอไป ก่อนหน้านี้ เมื่อเฟดเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยทั่วไปราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วง 6 และ 12 เดือนข้างหน้า นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 มีอยู่ 4 ครั้งคือ 1986, 1999 , 2001 และ 2015 ที่ตามมาด้วยการปรับขึ้นของราคาทองคำ 10-20% ใน 6 เดือนข้างหน้า ยกเว้นปี 1983 และ 1994 ที่ทองคำปรับตัวร่วงลง 11% และ 3% ตามลำดับ

      ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงนั้นติดลบอย่างมาก…. และมีแนวโน้มที่จะติดลบอีกแม้ว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย จนสามารถเบรคความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อลงได้ ทำให้มีแนวโน้มที่ว่าการกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมาย 2% ของเฟดนั้นคงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรเลย อัตราเงินเฟ้อพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 8.5% ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากสงครามระหว่างรัสเซีย ยูเครน เป็นที่ทราบกันดีว่า รัสเซียส่งออกพลังงานไปยังยุโรปมากถึง 40% กำลังการผลิตคิดเป็น 10% ของอุปทานทั้งโลก ทั้งรัสเซียและยูเครนต่างก็เป็นผู้ส่งออกข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ และน้ำมันดอกทานตะวันรายใหญ่ผ่านทะเลดำ และการบุกยูเครนของรัสเซียที่ยืดเยื้อกว่า 3 เดือนทำให้การส่งออกของยูเครนหยุดชะงัก มีผลผลิตธัญพืชตกค้างราว ๆกว่า 25 ล้านตันเลยทีเดียว ถือเป็นส่วนสำคัญผลักดันให้ราคาอาหารและอาหารสัตว์อาจเพิ่มขึ้นถึง 20% ขณะที่ดัชนีราคาธัญพืชของหน่วยงานเพิ่มขึ้น 17% และดัชนี น้ำมันพืชพุ่งขึ้น 23% ถือเป็นจุดสูงสุดในประวัติการณ์เลยก็ว่าได้ แรงผลักดันด้านเงินเฟ้อบางทีอาจทำให้ราคาทองคำระยะกลางยาว – ยาว จะดูยังขึ้นไม่มากนักก็ได้เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติบลบในขณะนี้ แต่ที่น่าห่วงจริง ๆ ก็คงเป็นการดึงสภาพคล่องกลับของธนาคารกลางใหญ่ของโลก โดยเฉพาะ FED ผ่านนโยบาย QT หรือ ที่เรียกว่า Quantitative Tightening คือ นโยบายดึงสภาพคล่องออกจากระบบด้วยการปล่อยให้พันธบัตรที่ซื้อมาครบอายุ ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือน มิ.ย.นี้แล้ว วงเงินเดือนละ 47.5 Bn ต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน และ หลังจากจะปรับขึ้นเป็นเดือนละ 95 Bn ซึ่งตลอดเส้นทางนี้ บอกเลยไม่ใช่เรื่องง่าย หากเศรษฐกิจหรัฐไม่ได้ดีจริง หรือฟื้นตัวจริงเหมือนเฉกเช่นตัวเลขเศรษฐกิจที่ปรากฏ ทั้งขึ้นดอกเบี้ย ทั้งทำ QT แบบ Soft Laning คือ ไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะตัวแปรกระตุ้นเงินเฟ้อหลาย ๆ อย่างยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง รัสเซียประกาศความสำเร็จภารกิจในเฟสแรกยึดน่านฟ้ายูเครน ทำลายระบบสาธารณูปโภค ตัดเส้นทางลำเอียงอาวุธ เฟสสอง ยึดทางออกทางทะเลอาซอฟ และทะลดำ ซึ่งตอนนี้ก็คงเหลือพื้นที่บริเวณ โอเดสซา ผลักดันต้นทุนอาหารพุ่งทัวโลก และหากจะดำเนินการต่อในเฟส 3 ก็คงเหลือแต่ภาคตะวันตก และเมืองหลวงยูเครนแล้ว ซึ่งส่วนนั้นเชื่อว่าน่าจะยืดเยื้ออีกนานเพราะ นาโต้ และสหรัฐคงไม่ยอมและอาจเร่งสนับสนุนอาวุธหนัก เงินทุนเพื่อให้ยูเครนเป็นด่านหน้าและสู้ต่อจนเฮือกสุดท้ายและหากเป็นเช่นนี้คงไม่ง่ายนักที่เฟดจะสามารถปราบเงินเฟ้อได้ง่าย โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆเลยต่อระบบเศรษฐกิจ      

         หากมามองทางด้าน SPDR กันบ้าง …… ก็พบว่า นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 22 เมษา กองทุน SPDR ซื้อสุทธิมากถึง 129 ตันแล้ว แม้จะยังเทียบไม่ได้กับปี 2020 ปีแห่งการระบาดของโควิด 19 ที่ SPDR ซื้อสุทธิ 295 ตัน แต่ก็อย่าลืมนะค่ะว่านี้ก็เป็นเพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น ขณะที่ปีที่แล้วกองทุนขายสุทธิ 192 ตัน แต่ซื้อสุทธิเพียง 98 ตันในปี 2019    ขณะที่มุมมอง  นักวิเคราะห์ Goldman Sachs… ก็ยังคงสอดคล้อง โดยคาดว่าครึ่งปีหลัง 2022 อุปสงค์ทองคำของธนาคารกลางจะแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์จาก 450 ตันในปี 2564 เป็น 750 ตัน และน่าจะผลักดันให้ราคาทองคำสิ้นปีอยู่ ที่ $2,500 ด้วยเหตุผลทางการเมืองในการเปลี่ยนทุนสำรองเป็นทองคำ จีนกำลังกระตุ้นการเติบโต จากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำ และตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นในปีที่แล้ว ส่วนอินเดียก็ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการติดเชื้อโควิด และยังไม่กระชับนโยบายการเงิน ทำให้ Q4/2564 อุปสงค์ของผู้บริโภคทองคำแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2565 อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยทั้งในอินเดียและจีนยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในสภาพแวดล้อมที่มีอัตราเงินเฟ้อสูง จึงเชื่อว่าการค้าปลีกจะยังคงแข็งแกร่งทั่วทั้งเอเชียในอนาคต และหากนับรวมปัจจัยอื่นๆ ที่รอการประทุอีก เช่น ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ ปัญหาความเสี่ยงของการล่มสลายทางเศรษฐกิจอีกหลายๆประเทศ หากเฟดเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวแล้ว ก็ยิ่งเป็นการยากที่ทองจะกลับลงใกล้หรือต่ำกว่าต้นทุนหน้าเหมือง All in Sustaining Cost 1050 / 1150 ของเหมืองขนาดกลางและใหญ่ 

         หากมองภาพรวมเทคนิคแบบคร่าวๆ ถือว่าแนวฐาน 1725/1685 ยังแข็งแกร่งพอสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบแข็งกร่าวต่อเนื่องไปได้อีกสัก 2-3 รอบ กรณีที่เป็น 0.5% หรือแม้กระทั่งการเดินหน้าลด Balance Sheet ควบคู่ตามตลาดคาดที่เดือนละ $47.5 bn ภายใน 3 เดือนนี้หรือหากจะมี Big Surprise ปรับขึ้นดอกเบี้ยถึง 0.75% ก็ขอให้มีเพียงแค่ครั้งเดียวแบบไม่ต่อเนื่อง และ ขอให้ไม่เพิ่มการลด Balance Sheet มากไปกว่านี้ในช่วงเริ่มต้น ก็เชื่อแนวรับดังกล่าวยังมีนัยะสำคัญพอให้เข้าสะสมกันได้มากเลยทีเดียว….ระหว่างนี้ก็คงต้องติดตามว่าจะมีปัจจัยใดเพิ่มเติม หรือ หายไปอีก…ซึ่งผู้เขียนจะขอมาอัพเดตกันต่อในบทความถัดไปนะค่ะ….