…….คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการอุบัติใหม่ของ COVID-19 คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เข้ามาเร่ง และสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อโลกอย่างมหาศาล ด้วยการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกระจายไปทั่วโลก วัคซีนยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของโลกได้ทันท่วงทีจนนำมาสู่การปิดเมือง ห้ามคนออกเดินทางนอกบ้าน กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก Supply chain สะดุด บริษัทดั้งเดิมหรือมีต้นทุนทางธุรกิจสูงล้มหายตายจาก มีการ Layoff พนักงาน หรือทำงานที่บ้านบ้างตามแต่วิถีทางรอดของแต่ละบริษัท นโยบายการเงิน และการคลังเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่เข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจ และฉุดรั้งตลาดการเงินที่ดิ่งลงจากแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกให้กลับฟื้นคืนตัวหลายต่อหลายครั้ง รู้หรือไม่ว่าเฉพาะธนาคารกลางหลัก 3 แห่ง อย่าง FED BOJ ECB อัดฉีดรวมกันแล้วกว่า 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่เกิดการระบาดในปี 2020 ถิอเป็น Biggest Whale เลยก็ว่าได้ จึงไม่แปลกนักที่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีโดยปี 2020 ให้ผลตอบแทนสูงถึง 36% เลยทีเดียว ทำให้ราคาทองคำไทยพุ่งทำสถิติสูงดสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ที่ราคา 30,400 ในระยะเวลาสั้นๆอย่างไม่น่าเชื่อ …….

- สำหรับตลาดทองคำ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะตรีมการลงทุนในปีดังกล่าว เปิดฉากต้นปี ม.ค.ด้วยการที่ อดีต ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ สั่งยิงมิสไซล์ “ปลิดชีพ” ผบ.ทัพอิหร่านล้างแค้นกองกำลังชีอะห์ถล่มสถานทูต
เดือนมีนาคม การระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้เกิด Disruption ของกระบวนการผลิตและการขนส่งในอุตสาหกรรมทองคำ มีปิดเหมืองทองและโรงงานผลิตเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาด การลดจำนวนและระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศทำให้ส่วนต่างราคาทองคำระหว่าง Spot และตลาด Futures ต่างถึง 70 ดอลลาร์ปกติต่างเพียง 1-2 ดอลลาร์เท่านั้น หมายความว่า ราคา GAP รับเข้าและขายออกทองคำในไทยห่างกันมากกว่า 300-600 บาทต่อบาททองคำ FED ประชุมฉุกเฉินประกาศลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องจนเข้าสู่ระดับต่ำสุด 0-0.25% พร้อมอัดฉีดเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์และหลังจากนั้นก็มีการอัดฉีดเรื่อยมาแบบ Unlimited จนมาสู่ QE ในที่สุด ซึ่งปีเดียวกันนั้นเอง ทั้ง Gold Spot และราคาทองคำแท่งในประเทศต่างทำ NEW High ทั้งคูที่ Spot 2073 และราคาไทยที่ 30,400 เพราะการอัดฉีดเงินแบบ Unlimited จากทั่วโลกทั้งภาครัฐและธนาคารกลางรวมถึงไทยด้วย
….. ก่อนปิดฉากด้วยการพยายามจะส่งสัญญาณของเฟดว่าจะเกิด QE Tapering ปีหน้า กลายเป็นประเด็นลบส่งไม้ต่อมายังปี 2021 ให้เกิดแรงเทขายทุกคร้งที่นักลงทุนพยายามจะแกะคำพูดของประธานเฟดอย่างนายเจโรม พาวเวล ว่าเมื่อใดที่บรรลุเป้าหมาย 1 ใน 2 หรือ ทั้ง 2 อย่างเช่น เป้าหมายเงินเฟ้อ 2% หรือตลาดแรงงานเกิดการจ้างงานอย่างมีประสิทธิภาพเฟดก็พร้อมจะยุติมาตรการกระตุ้นทันที เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2013 และทำให้ทองคำกลายเป็นเทรนด์ขาลงเรื่อยมารวมระยะเวลา Sideway ในกรอบขาลงก็กินเวลายาวนานถึง 7 ปึเลยทีเดียว จึงไม่แปลกนักที่นักลงทุนจะกลัวคำว่า Tapering และทำให้กลายเป็นตรีมเด่นของปี 2021 ไป แม้ว่าสิ่งนั้นยังไม่เกิดขึ้นแม้ว่ายังมีปัจจัยบวกอื่น ๆ อย่างเช่น งบประมาณทางการคลังของสหรัฐ Rescue Plan $1.9 ล้านล้าน และ Infrastructures bill $1.2 ล้านล้าน เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจกลางปี ท้ายปีก็ไม่เป็นผล …
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ….
1.การฉีดวัคซีนทั่วโลกตั้งแต่เข็ม 1 จนถึง Booster Dose เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ
2.ประชากรมีการปรับตัวอยู่แบบ New Normal ได้เป็นปกติ นักลงทุนเริ่มชินกับการอุบัติใหม่ของการกลายพันธุ์ที่ผ่านมา และความก้าวหน้าของ R&D ทั่วโลกทำให้เราเริ่มเข้าใกล้ความจริงของยาต้านไวรัสแบบสูดดมและแบบกินกันแล้ว
…..จึงทำให้ปี 2021 กลายเป็นปีแห่งการปรับฐานของทองคำเลยก็ว่าได้ แต่ด้วยการพยายามอัดฉีดอย่างมหาศาลเพื่อต่อสู้กับการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาก็เกิดปัญหาสองตามมาคือเงินล้นระบบ ล้นโลกอย่างมหาศาล ราคาสินค้าแพง เงินเฟ้อพุ่ง และเจ้าเงินเฟ้อนี้เองที่กลายเป็นปัญหาสามกำลังด้อยค่าเงินของแต่ละประเทศทั่วโลกจนต้องทำอะไรสักอย่าง เงินเฟ้อระดับน้อยๆ ถือเป็นเป็นเรื่องดีเพราะแสดงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่หากมากเกินไป ข้าวของราคาแพง ค่าจ้างแรงงานไม่สามารปรับตัวตามได้ทันสุดท้ายต้องจบลงด้วยการพยายามจะยุติเงินเฟ้อ หยุดอัดฉีดเงิน ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และนี่แหละคือ ทรีมเด่นปี 2022 ที่เราต้องมาไล่เรียงกันว่าอะไรมาก่อนอะไรมาหลัง โดยส่วนตัวผู้เขียนมีความเชื่อว่าทรีมการลงทุนปี 2022 จะสามารถกลับมาปรับตัวขึ้นได้ด้วยเหคุผลหลายประการ คือ
1.เงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นมากสุดในรอบ 30 ปีของสหรัฐและทั้วโลกกำลังตามด้อยค่าเงินให้เสื่อมค่าลงไปเรื่อยๆ นักลงทุนเริ่มมองหาสินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้ออย่างทองคำยังคงเป็นปัจจัยบวกควบคู่กับการกลายพันธุ์ของโคลิด 19 ที่ยังไม่จบไม่สิ้นตราบใดที่วัคซีนยังไม่สามารถ Cover ประชากรทั้งโลกได้
2.ปัญหาหนี้สินที่ทั้งโลกก่อไว้ในช่วงก่อนและหลังเกิดโควิด ยังเป็นอุปสรรคต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่เช่นกัน เพราะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากมากหรือเร็วเกินไป บริษัทที่มีผลประกอบการเปาะบางต้องล้มหายตายจากเพราะแบกรับต้นทุนทางการเงินที่สูงไม่ไหว
3.หากเฟดเลือกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยผิดจังหวะโดยที่ตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร หรือ เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเป็นเพียงชั่วคราว ไม่ถาวรอย่างที่กังวล อาจจะต้องกลับมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายอีกครั้ง และนั่นหมายความว่าต้องเพิ่มยาแรงเป็นสองเท่าหรือมากกว่านั้นก็เป็นได้
4.การคลังของสหรัฐยังเหลือปัจจัยบวกอีกหลายอย่างเช่น Debt ceiling ที่เลื่อน Deadline ไปเป็น 18 ก.พ.ปีหน้าที่พ่วงมาพร้อมกับวงเงิน Families Plan อีกราวๆ$1.75 ล้านล้านหรือมากกว่าหากตกลงกันได้
และท้ายที่สุดนี้ หากเฟดจะเลือกเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจริงๆ การที่คุณพาวเวลส่งสัญญาณล่วงหน้าแทบจะทุกครั้งที่มีการประชุมจะช่วยลดความตื่นตระหนก หรือลดแรงกระแทกของตลาดลงได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว….