สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 3 เรื่องหลักคือ
- การเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซีย ยูเครน มาตรการคว่ำบาตรสหรัฐ และ ฝั่งตะวันตก รวมถึง Deadline ที่รัสเซียจะให้ชาติที่ไม่เป็นมิตรจ่ายค่าพลังงงานเป็นสกุลเงินรูเบิล แทนยูโร และดอลลาร์
- ราคาพลังงาน
- อัตราเงินเฟ้อสหรัฐ ยุโรป ทั่วโลก
- นโยบายการเงินของ ECB และการรายงานผลการประชุม FED เพิ่มเติม
เราเคยเห็นทองคำปรับตัวพุ่งแรงอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2 สัปดาห์ติดต่อกันนับตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ.ที่รัสเซียใช้ปฏิบัติการพิเศษทางทหารเข้าจู่โจมยูเครน ทำลายโครงสร้างพื้นฐาน คลังเก็บอาวุธ โรงพยาบาล อาคารบ้านเรือนเกิดความเสียหาย สหรัฐและชาติตะวันตกส่งอาวุธยุทธโปกรณ์ไปยังยูเครนอย่างไม่ขาดสาย รวมถึงคว่ำบาตรรัสเซียหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งประกาศปิดกั้นการเข้าถึงระบบเงินทุนสำรองให้ถูกแช่แข็งไปเกือบ 3 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 6.4 แสนล้านดอลลาร์คิดเป็น 50% ของทุนสำรองทั้งหมด ตัดธนาคารบางแห่งออกจากระบบ Swift กดดันให้ประเทศต่างๆ เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้รูเบิลอ่อนค่าต่อเนื่องไปถึง 150 รูเบิลต่อดอลลาร์เลยทีเดียว จากความกังวลว่ารัสซียจะผืดนัดชำระหนี้บ้าง หรือหากคว่ำหนักเข้าอาจล่มสลายไปเลยก็ได้ เพราะฝั่งตะวันตกก็เดินหน้าบี้อย่างไม่หยุดยั้ง ตัดรัสเซียออกจาก WHO / IMF / World Bank / Council of Europe อีกทั้งสหรัฐยังกดดันจีนและอินเดียให้คว่ำบาตรรัสเซีย แต่ก็ยังไม่เป็นผลสำเร็จทั้ง 2 ประเทศกลับไปจับมือกับรัสเซียนำเข้าพลังงานในราคา discount ราว 20% ที่เจ็บแสบไปกว่านั้นมิได้ตกลงซื้อกันในรูปของสกุลเงินดอลลาร์แต่กลับเป็นสกุลเงินรูปี-รูเบิล และ หยวน-รูเบิล ส่วนประเทศที่ไม่เป็นมิตรจะต้องซื้อพลังงานในรูปของสกุลเงินรูเบิลแทน โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป ซึ่งตรงจุดนี้ขอมาร์คเอาไว้ก่อนเพราะอาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเกมส์ที่เอาไว้ BET กับทองคำในเดือนนี้ต่อก็เป็นได้ ถ้ารัสเซียเป็นประเทศเล็กๆที่ไม่มีทางต่อกร หรือถอไพ่พลังงานไว้ในมือที่เป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซอันดับ 1 ของโลก น้ำมันอันดับ 2 แล้วไซร้ ค่าเงินรูเบิลคงไม่สามารถพลิกกลับไปกลับมาจาก 150 รูเบิลต่อดอลลาร์มาเป็น 100 บ้าง 85 บ้าง ถือว่าแข็งค่ากลับมา 40-50% กันชั่วคืนทุกครั้งที่ท่านปูตินโต้กลับมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันแบบสาหัสสากันเช่นกัน ตรงส่วนนี้ขอพูดเพียงหอมปาดหอมคอ และข้ามขั้นมึงเรื่องการเจรจาสันติภาพกันเลยแล้วกันค่ะ เจรจาสันติภาพดูเหมือนจะคืบหน้าไปมากขึ้นยังเหลือในขั้นตอนสุดท้ายที่ถือว่าเป็นเรื่องยากที่สุด คือ ยูเครนต้องรับรองให้ไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่าเป็นทางการ และต้องยอมรับดอนบาสเป็นรัฐอิสระ ซึ่งตรงจุดนี้ใครที่เป็นเจ้าของประเทศก็ย่อมไม่อยากเสียดินแดนส่วนใดไปแน่นอน จึงคิดว่าหากไม่มีใครยอมถอยส่วนนี้ก็ไม่น่าบรรลุผลโดยง่าย คราวนี้เรื่องราคาพลังงานกับอัตราเงิเฟ้อถือเป็นผลสืบเนื่องต่อกันแยกจากกันมิออก ราคาพลังงานจะยังสูงขึ้นได้ต่อไปอีกตราบใดที่ยุโรปยังไม่สามารถหาพลังงานมาชดเชย Supply จากรัสเซียได้ทั้งหมด แม้จะมีดีลการนำเข้าจากสหรัฐ 15000 ลบม.ในปีนี้ รวมถึงจากการ์ต้าแล้วแต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าเดิมและราคาก็สู.กว่าของรัสเซียอยู่มากนัก หากยุโรปจะยืนกรานเลือกทางนี้ต่อไปคงหนี้ไม่พ้นเงินเฟ้อที่จะต้องพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หากยุโรปจะยอมถอยโดยยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเพื่อแลกกับการกลับมาค้ขายกับรัสเซียในสกุลเงินยูโรเช่นเดิม ย่อมหมายความว่าต้องยอมลดบทบาทประเทศสนับสนุนยูเครนลงไป ถึงจุดนี้ก็ควรเลือกแบบนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ต้องยอมรับนะว่ารัสเซียจะกลายเป็นประเทศผู้กำหนดทิศทางการเงินโลกใหม่ไปเลยก็ว่าได้ ส่วนสหรัฐคงต้องทำทุกวิธีทางเพื่อยืดสงครามครั้งให้นานที่สุด และรุนแรงที่สุดโดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องโยตรงเพื่อไม่ให้กลายเป็นสงครามโยตรงระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย หรือ นาโต้กับรัสเซียเพราะถึงคราวนั้นคงกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ที่ไม่มีใครเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริง และคงไม่ตรงกับคอนเซปของไบเดนเท่าไหร่ ที่ต้องการเพียงผลประโยชน์จากการขายอาวุธ ดีลการค้าพลังงงาน หลีกเลี่ยงการประมาณจากโลกว่าเป็นประเทศผู้ก่อเงินเฟ้อมหาศาล และดิตเครดิตรัสเซียตัดรอนกำลังในอนาคตก็เท่านั้น ทั้งนี้เชื่อว่าเดือนนี้คาดว่าเราจะเริ่มเห็นความชัดเจนที่มากขึ้นจากสถานการณ์รัสเซีย ยูเครน ว่าจะจบลงแบบใดกันแน่ หลังจากนั้นตลาด ค่อยกลับมาเริ่มรับข่าวลบจากความคาดหวังว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะต้องขยับเป็น 0.50% ในเดือนหน้าหรือไม่ เพื่อเป็นอีกขั้น ของการสกัดเงินเฟ้อไม่ให้ร้อนแรงไปไกลจนยากจะควบคุม……..ส่วนนโยบายการเงินของ ECB ยังคาดคงเดิม จึงยังไม่ค่อย Focus เท่าที่ควร….อ่านต่อกลยุทธ์หน้า 2
โอกาสความเป็นไปได้ของ Gold Spot…
CASE 1: ยังคงเป็นไปได้ = หากสงครามรัสเซีย ยูเครน ยืดเยื้อ จำกัดเฉพาะพื้นที่ยูเครนแต่รุนแรงขึ้น + สหรัฐ ตะวันตกยังคงส่งอาวุธ และคว่ำบาตรเพิ่มขึ้น + ชาติยุโรปส่วนใหญ่ขาดแคลนพลังงาน / ราคาพลังงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง = Spot แถว 1906 -1898 คงเป็นแนวฐานสำคัญให้ทองคำปรับตัวขึ้นต่อ เป้าหมายทำกำไร 1987 / 2023 /2042
CASE 2: ยังมีความเป็นไปได้ = เกิดความแตกร้าว สหรัฐ:จีน (อินโดแปซิฟิกตึงเครียด) / สหรัฐ:อินเดีย อันเป็นผลมาจากการทำการค้ากับรัสเซีย ทั้งที่สหรัฐและชาติตะวันตกยังเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย = คล้าย Case 1
CASE 3: หาก CASE 1 + CASE 2 อาจไปได้ไกลถึง 2100
CASE 4: ยังคงมีเป็นไปได้ = หากสงครามรัสเซีย ยูเครน จบลงที่โต๊ะเจรจาสันติภาพ + รัสเซียถอนกำลังทหาร + มาตรการคว่ำบาตรต่าง ๆ เริ่มผ่อนคลายลง + ราคาพลังงานร่วงลง +ตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดมากขึ้น ราคาทองจะเกิดการปรับฐานตามน้ำหนักการคาดการณ์ = Open Short ตามบทวิเคราะห์รายวัน คาดหวังการปรับฐานรายเดือน 1830/1780
CASE 5: หากสงครามรัสเซีย ยูเครน ยืดเยื้อ จำกัดเฉพาะพื้นที่ยูเครนและรุนแรงขึ้น แม้สหรัฐจะยังคงคว่ำบาตรต่อเนื่อง แต่ชาติยุโรปที่ต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย โดยเฉพาะเยอรมนีถอนมาตรการคว่ำบาตร เพื่อแลกกับการกลับมาใช้เงินยูโรซื้อน้ำมันเช่นเดิม หรือได้ดีลใดที่พิเศษเฉกเช่นประเทศเป็นมิตรอีกครั้ง =สถานการณ์เริ่มผ่อนคลายลง ราคาทองก็จะปรับตัวลงก่อนเช่นกันแล้วค่อยพิจารณาเกมส์สหรัฐจะเดินอย่างไรต่อ
CASE 6: เป็นไปได้น้อยมากที่สุด = สงครามรัสเซีย-ยูเครน บานปลาย เสี่ยงให้สหรัฐ นาโต้เข้าร่วมวงสงครามโดยตรง หาจุด Follow Buy เมื่อสถานการณ์เลวร้ายลงเรื่อยๆ
ทั้งนี้หากมีปัจจัยที่นอกเหนือจาก CASE เบื้องต้นค่อยพิจารณาหน้างาน
ปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำอยู่ในอาณาเขต Handle Cup
ภาพรวมค่าเงินบาทยังคงแนวโน้มอ่อนค่าระยะกลางจากการคาดหวังว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 0.25% เป็น 0.50% ในการประชุมครั้งถัดไป หรือ อีก 2 ครั้งถัดไปติดๆ กันเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวิการณ์ในรอบ 40 ปีที่ 7.9% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในบ้านเราคงไว้ที่ระดับเดิม 0.50% ซึ่งส่วนต่างดังกล่าวเป็นปัจจัยผลักดันให้เงินทุนยังคงไหลออก เงินบาทจึงมีโอกาสอ่อนค่าได้ต่อเนื่องพอิจารณาแนวต้าน 33.95 หากผ่านได้การอ่อนค่าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ซเพื่อทดสอบเป้าหมายถัดไป 34.38 สำหรับการกรอบแนวฐานหลังจากนี้ไม่ควรหลุด 32.68
โดย แนวต้าน ของค่าเงินบาทรายเดือน 32.73 / 33.95 / 34.38 / 34.82
และ แนวรับ ของค่าเงินบาทรายเดือน 33.10 / 32.88 / 31.68