สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 3 เรื่องหลักคือ

  1. การประกาศตัวเลข US Employment และ ตัวเลข CPI YoY, PCE, PPI YoY
  2. ติดตามราคาน้ำมัน หลัง OPEC+ ลดกำลังการผลิตเพิ่ม 1.16 ml. bpd.
  3. ติดตามระดับความกังวลภาคธนาคารสหรัฐ หลังจากยังมีการถอนเงินออกจากธนาคารขนาดเล็ก และขนาดกลาง เข้าสู่ตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้น ประกอบการลดการปล่อยสินเชื่ออาจส่งผลต่อภาค Real Sectors หลังจากนี้หรือไม่

     ช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมานับตั้งแต่เกิด Bank Run ธนาคารทั้ง 3 แห่งของสหรัฐล้มลง และ Credit Suisse ถูกซื้อกิจการโดย UBS สถานการณ์ต่าง ๆ ก็ได้เริ่มคลี่คลายลงมาตามลำดับ แต่ก็คงต้องลอกว่าไม่ได้เข้าสู่ภาวะปกติอย่างเคย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น 1. การที่เฟด และ กระทรวงการคลังจัดตั้งโครงการใหม่ช่วยเหลือแบงก์ล้ม ประกอบกับธนาคารขนาดใหญ่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ธนาคารขนาดกลางและเล็กที่มีปัญหา ทำให้ Balance Sheet ของเฟดเพิ่มขึ้นกว่า $3 แสนล้านช่วงเวลาสั้นๆ2. Moody ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของระบบธนาคารสหรัฐจาก Stable เป็น Negative และเตือนว่า อาจปรับลดอันดับเครดิตอีก 6 ธนาคารคือ First Republic Bank, Zions, Western Alliance, Comerica, UMB Financial และ Intrust Financial ซึ่งจะส่งผลให้การระดมทุนของธนาคารบางแห่งมีความผันผวน ยากลำบากจากความเสี่ยงของเงินฝากไม่มีประกันไหลออก 3. การที่ UBS เข้าซื้อกิจการของ CS และ ตัดหนี้ AT1 เป็น 0 ทำให้หลังจากนี้การระดมทุนในตราสารหนี้ดังกล่าวอาจทำได้ยากมากขึ้น 4. การที่ FED และ ECB ยังคงต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อส่งผลกระทบต่อความตึงตัวของภาคการเงินที่มากขึ้น มีการบันทึก Unrealize loss ที่เพิ่มขึ้นจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงราคาพันธบัตรร่วงลง ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้เพิ่ม หรือล้อตามดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ช่วงที่ผ่านมาเงินฝากเริ่มลดลงเรื่อย ๆ รายงานล่าสุดของสหรัฐสิ้นสุด ณ วันที่ 22 มีนาคม ยอดเงินฝากลดลงติดต่อกันเป็นครั้งที่ 9 ถึง 125.7 พันล้านดอลลาร์ สินเชื่อโดยรวมลดลง 20.4 พันล้านดอลลาร์ มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 นำความกังวลว่าจะลามไปสู่ภาคอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ 5. การที่ CDS Spread ของ Deutsch bank พุ่งขึ้นอย่างมากท่ามกลางวิกฤตธนาคารทำให้นักลงทุนไม่อาจวางใจต่อความเสี่ยงดังกล่าวก็ยังคงเฝ้าระวังการเข้าลงทุนภาคธนาคาร การฝากเงิน ทำให้ราคาหุ้นของภาคธนาคารก็หดลง เช่นกัน ขณะที่ปัจจัยในเดือนนี้ในตารางยังคงมีไม่มาก นอกจากการติดตามตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐ ตัวมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อ ประกอบกับ. ติดตามการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน หลัง OPEC+ มีมติลดกำลังการผลิตเพิ่ม 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งปัจจัยหลัง น่าจะให้สัญญาณเชิงลบต่อราคาทองคำในแง่ของเงินเฟ้อ ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผ่านมาจากเดือนที่ผ่านมายังเป็นมุมมองเชิงบวกปลายเปิด แม้จะลดลงจากการคลายความกังวลช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่อาจวางในทันที

Technical: Sideway UP in Tipple Top

    ภาพสัญญาณรายเดือนถือว่าปิดตัวค่อนข้างดี มีโอกาสลุ้นการทดสอบ 2062 ภายในเดือนได้เช่นกัน ซึ่งแนวต้านดังกล่าวถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญใน  Tipple Top -ขณะที่แนวรับด้านล่าง เพื่อไม่ให้เป็นการเสีย Pattern ขาขึ้นภาพเดือนจนกว่าจะทดสอบแนวดังกล่าวได้ ก็ไม่ควรหลุด 1855 ลงมา ดังกลยุทธ์ การลงทุนภายในเดือนจึงแบ่งไม้เข้าซื้อ เป็น 3 จุดสำคัญใหญ่ 

หากเล่นรอบแบ่งเข้าซื้อ 1955 / 1920
หากเก็บระยะกลาง รอเชิงลึก 1860 เมื่อไม่สามารถผ่านต้าน 1992 / 2040 หรือ 2065 [SL=1845]

แนวโน้มค่าเงินบาท

      ช่วงเดือนที่ผ่านมาค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าจาก 35.34 แตะระดับต่ำสุดที่ 33.84 เหตุผลหลักส่วนใหญ่มาจากวิกฤต Bank Run ในสหรัฐส่งผลให้เกิดการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ค่าเงินบาทแข็งค่า ตามสถานการณ์ความสุ่มเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การแข็งค่าก็ดูไม่มากนัก เมื่อเทียบกับปัจจัยที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองของไทยที่มีการประกาศยุบสภาไปตั้งแต่ 20 มีนาคม ถือว่าเป็นวันเดียวกับการพยายามจะคลี่คลายปัญหาของ Credit Suisse โยการปิด Deal เข้าซื้อกิจการของ UBS และการปิด Deal เข้าซื้อกิจการของ Signature Bank เมื่อสถานการณ์ในต่างประเทศเริ่มคลี่คลายมาตามลำดับ จะเริ่มเห็นการพยายามกลับตัวอ่อนค่าของค่าเงินบาทเสมอ แม้จะอยู่เพียงในกรอบ แต่สัญญาณดังกล่าวก็เริ่มมีนัยมากขึ้น หากพิจารณาภาพรวมทางเศรษฐกิจในไทยตามรายงานล่าสุด ค่าเงินเฟ้อของไทยลดลงเข้าใกล้ระดับเป้าหมายมากขึ้นที่ 3.79% กนง. เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.75% การส่งออกมีการขยายตัวมากขึ้น เช่นเดียวกับการบิโภคภายในที่เพิ่มขึ้น การที่กิจกรรมภาคบริการมีการฟื้นตัวต่อเนื่องตามความคาดหวังว่านักเที่ยวที่จะเข้ามาในประเทศจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ยังเป็นปัจจัยมา Weight รอยต่อทางการเมืองให้มีความสมดุลขึ้นมาบ้าง

   ราคาทองคำไทย มีการเลี้ยงตัว และ ขยับกรอบแนวรับยกตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่เกิดวิกฤตธนาคารในสหรัฐ และ สวิส ทำให้การคาดหวังว่าราคาทองคำไทยจะกลับมารับแถว 29,XXX นั้นมีความเป็นไปได้น้อยมาก หากราคาทองคำไทยจะเลี้ยงตัวในเทรนด์ขาขึ้นต่อไป แนวฐานภาพขาขึ้นถูกยกระดับมาให้ไม่ต่ำกว่า 30,500 ขณะที่แนวต้านยังคงเปิดกว้างในระดับที่สูงกว่า 32,400 โดยประมาณ ดังนั้นหากค่าเงินบาทแข็งค่าไม่มากนัก หรือพยายามจะอ่อนค่าในช่วงระหว่างเดือนประกอบกับ ภาพรวม Gold Spot ยังคงเป็นเทรนด์ขึ้นในภาพใหญ่ นักลงทุนระยะกลางอาจจำเป็นต้องแบ่งไม้การลงทุนอย่างน้อย 7 ไม้ เข้าซื้อในราคาสูง เพื่อขายในราคาที่สูงกว่า บริเวณ 31800 / 31450 คาดหวังการทำกำไรในกรอบแนวต้าน 32,200 / 32.400++ หรือสูงกว่าหากมีปัจจัยบวกไม่คาดคิดเข้ามาเพิ่ม ขณะที่ 5 ไม้ที่เหลือ เก็บไว้รอการปรับฐานเชิงลึกหากสถานการณ์ไม่เป็นไปตามคาดไว้ หรือมีปัจจัยลบกว่าคาดเข้ามากระทบ

Technical - USDTHB

       ภาพรวมค่าเงินบาทรายเดือน ยังคงต้องเผชิญแรงกดตัวจากแนวต้านด้านบน อาทิเช่น 34.60 / 35.15-35.26 ตามลำดับอยู่ และให้ถือว่าแนวต้าน 35.26 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับการพักฐานใหม่ หรือการกลับอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาพรวมกราฟรายวันสวิงอ่อนค่าตามค่า RSI เกาะขอบ 50

“ ทองคำไทยสำหรับนักลงทุนระยะกลาง แบ่งไม้การเข้าซื้อออกเป็น 7 แบ่ง 2 ไม้เข้าซื้อเล่นรอบแนว 31800 / 31450 [+/- 50-80 บาทโดยประมาณ] ”