สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 5  เรื่องหลักคือ

  1. 14-15 ธ.ค. เฟดจะมีการปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดมากขึ้นหรือไม่
  2. 15 ธ.ค. Deadline US Debt Ceiling + งบ $1.75 ล้านล้าน
  3. วันที่ 2 ธ.ค. OPEC+ จะมีมาตรการตอบโต้การปล่อยน้ำมันจากคลังยุทธศาสตร์ ของสหรัฐและประเทศร่วมอื่น ๆ หรือไม่ อย่างไร
  4.    4. การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ โอไมครอน
  5. อัตราเงินเฟ้อสหรัฐและทั่วโลก

       ปัจจัยที่น่าเป็นกังวลมากที่สุดในช่วงเดือน ธันวาคม คงหนี้ไม่พ้น กระแสข่าวที่ว่า ประธานเฟดนายเจโรม พาวเวล กล่าวว่า เฟดมีโอกาสที่จะเร่งวงเงินในการทำ Tapering เพิ่มเป็น 2 เท่าจากเดิมที่เคยประกาศไว้ว่าจะลดการเข้าซื้อสินทรัพย์เดือนละ $15bn จนสิ้นสุดกลางปีหน้า กลายเป็นอาจจำเป็นต้องลด $30 bn ต่อเดือนคาดว่าจะสิ้นสุดเดือนมีนาคม เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะอัตราเงินเฟ้อสหรัฐเร่งตัวสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้อย่างมากนั่นเอง โดยคาดกันว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐในเดือนธันวาคมอาจแตะระดับ 7% เลยทีเดียว เป็นเหตุให้ต้องคาดการณ์กันต่อว่าอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นน่าจะขยับเข้ามาเร็วขึ้นอีกเพื่อสกัดเงินเฟ้อโดยเฟดสามารถเริ่มขึ้นได้ตั้งมิถุนายนเป็นต้นไปได้ สำหรับเหตุการณ์แบบนี้ถือว่าไม่เป็นผลดีเลยต่อ Gold Spot ทำให้ทองคำมีโอกาสปรับตัวลงต่อเนื่องได้อีก ประเด็นที่รองลงมาคงไม่พ้นการประชุม OPEC+ ที่เป็นการยืนยันอีกครั้งว่าเฟดควรดำเนินมาตรการดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ สหรัฐพยายามที่จะเรียกร้องให้กลุ่ม OPEC+ เพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการหลังเปิดเมืองของแต่ละประเทศแต่ก็ไม่เป็นผลด้วยความเห็นต่างที่ว่า OPEC+ยังคงมีความกังวลว่าตราบใดที่ไวรัสยังไม่จบ วัคซีนยังเข้าถึงไม่เพียงพอโอกาสกลับมาปิดเมืองยังคงมีสูง หากเป็นเช่นนั้น Supply จะกลับมาล้นตลาดและจะทำให้ราคาน้ำปรับตัวลงแรงในที่สุด แต่สหรัฐก็แก้เผ็ดโดยที่ประกาศนำน้ำมันจากคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ออกมาใช้ 50 ล้านบาร์เรล นับเป็นปริมาณมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐที่เคยดึงน้ำมันสำรองออกมาใช้เลยทีเดียว โดยจะเริ่มนำออกมาจำหน่ายในท้องตลาด ตั้งแต่ช่วงกลางเดือน หรือ ปลายเดือน ธ.ค. เป็นต้นไป  และยังได้ขอให้ประเทศอื่นๆช่วยกันแก้ปัญหานี้ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักรรวมถึงจีนด้วย แต่ก็ไม่วายก็มีกระแสตอบโต้จากกลุ่ม OPEC+ ว่าในการประชุมวันที่ 2 ธ.ค.ทางกลุ่มอาจจะไม่เพิ่มกำลังการผลิตก็เป็นได้ซึ่งราคาน้ำมันถือเป็นตัวแปรที่สำคัญเลยว่า ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ควรเร่งตัวจริง ๆ หรือไม่ ซึ่งหากจะพูดถึงเงินเฟ้อพุ่งนี้ดีต่อทองคำมั้ย ตอบเลยว่า ดี จะผลักดันให้ ทองคำขึ้น แต่หากเงินเฟ้อมาเร็ว มามาก จนทำให้เฟดต้องใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวสุด ๆ หรือกระทันหัน นี่ก็ว่าไม่ค่อยดีต่อทองเท่าไหร่ หรือแม้แต่ตลาดหุ้นเองก็มีความเสี่ยง เพราะต้นทุนทางการเงินที่กำลังจะเพิ่มสูงขึ้นย่อมกระเทือนต่อบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แน่นอนลดหลั่นตามความแข็งแกร่งของแต่ละบริษท แต่เราก็มิได้ BET ลบจนทองคำไม่น่าสะสม เพราะว่าในเดือนนี้อีกก็มีปัจจัยด้านบวก อย่างเช่น US Debt Ceiling ที่แม้จะมีเส้นตายวันที่ 15 ธันวา หากไม่ผ่านสภาสหรัฐจะมีความเสี่ยง Shutdown และมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ แต่หากผ่านสภาได้ก็หมายความว่าอาจพ่วงมาด้วยงบประมาณใหม่ $1.75 ล้านล้านของ ปธน.โจ ไบเดนที่พ่วงเข้าไว้ในการพิจารณาส่วน โคโรน่าไวรัส สายพันธุ์ใหม่ยังมีความเสี่ยงที่จะเข้ามาคลุกครามตลาดอยู่เสมอ อย่างเช่น ล่าสุด โอไมครอน ตราบใดที่วัคซีนยังไม่เพียงพอต่อประชากรทั้งโลก เราคงต้องอยู่กันแบบมีความกังวลกลาย ๆ ว่าไวรัสสายพันธุ์ไหนจะมาทำให้โลกต้องกลับไป Lockdown อีก และนั่นคือปัจจัยด้านบวกของทองที่รอการปะทุทุกเมื่อ …..

ปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำยังอยู่ในอาณาเขต Handle Cup

       ด้วยสถานการณ์ที่กล่าวข้างต้น ทำให้ทองคำช่วงต้นเดือนยังเป็นน้ำหนักเชิงบวกลงทุนในกรอบ 1760-1822 แต่หากไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1830 ได้ และเฟดยังคงเดินหน้าเพิ่มปริมาณการทำ Tapering เป็น 2 เท่า หรือมากกว่า ระวังการหลุด 1760 จึงจะมีโอกาสเริ่มเข้าสะสมรอบใหม่ที่ ….

             “1723 / 1690-86 / 1615  [จุดละไม่เกิน 20%]”

           ช่วงนี้มีปัจจัยมากมายที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของค่าเงินบาท อาทิ เช่น การทำ QE Tapering หากเท่าเดิมตามที่เคยตกลงไว้คือ เดือนละ $15 bn คาดว่าคงไม่มี Effect ให้เงินบาทอ่อนค่าอย่างรุนแรงและรวดเร็ว แต่หากเป็น $30 bn ต่อเดือนโดยแถมว่าดอกเบี้ยเฟดอาจมาเร็วในกลางปีหน้า เป็นต้น นั่นอาจทำให้ค่าเงินอ่อนค่าได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นย่อมหนีไม่พ้นการลดค่าของค่าเงินแต่ละประเทศลงไปทุกทีๆ ซึ่งกเห็นได้ว่านับตั้งแต่ต้นทปีที่ผ่านAsia Currencies อ่อนค่าอย่างมาก ท่ามกลางความไม่แน่นอนกับสถานการณ์ โคโรน่าไวรัส ทั้งสายพันธุ์gเก่าอย่าง Delta และสายพันธุ์ใหม่อย่าง โอไมครอน รวมถึงสายพันธุ์อื่นๆ อีกในอนาคตหากวัคซีนที่มีไม่สามารถ Cover ประชาชกรเกือบทั้งโลกได้เร็วกว่าการกลายพันธุ์ของไวรัส การประกอบการต่างคงต้องอยู่กันแบบลงทุนไม่เต็มตัว การขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ไม่เต็มที่ หลายประเทศส่วนใหญ่ยังคงตองอาศัยมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ เงินเยอะ เงินมาก ล้นระบบ GDP ไม่ได้โตตามปริมาณเงินที่ใส่ไป ค่าเงินก็ยิ่งเสื่อมค่า โดยรวมยังมอง ค่าเงินบาทที่แนวต้าน 33.90-33.95 เป็นหลัก หากสามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวได้ บาทมีโอกาสอ่อนค่าได้เร็วและง่ายตามกระแสข่าวข้างต้นพิจารณา 34.18/34.52/34.76 แต่หากไม่สามารถผ่านต้าน 33.90 ได้ยังคงต้องมองการพักฐานทางเทคนิคก่อน 33.45/33.08 และหากจะหลุดต่ำไปกว่านั้นกระแสข่าวดังกล่าวควรเบาลง

โดย แนวต้าน ของค่าเงินบาทรายเดือน   33.95 / 34.18 / 34.52 / 34.76
และ แนวรับ ของค่าเงินบาทรายเดือน   33.45 / 33.08 / 32.78

กลยุทธ์กรอบราคาทองไทย 96.5%

      ตราบใดที่ Gold Spot ยังไม่หลุด 1760 ทองคำยังแกว่งตัวในกรอบด้านบน 1760-1822 แสดงว่าราคาทองคำไทยยังคงต้องเข้าลงทุนเหนือ 28150 อยู่ แต่ตราบใดที่ราคาทองคำกลับลงมาหลุดต่ำกว่า 1760 โดยประมาณ และไม่มีเหตุปัจจัยใดทำให้เงินบาท Break ทะลุ 34.22 ขึ้นไปได้ คาดว่าน่าจะเข้าสะสมซื้อรอบใหม่ได้บริเวณ 27800 [+/-50-120] และ 27500-350