สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 5 เรื่องหลักคือ
1. การประชุมธนาคารกลางสำคัญ เช่น FED วันที่ 13-14 / BOE วันที่ 15 / ECB วันที่ 16
2. การประกาศตัวเลข CPI มาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทย จีน สหรัฐ สหราชอาณาจักร ในวันที่ 2,9,13,14 ตามลำดับเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายธนาคารกลางนั้น ๆ
3.มาตรการ Zero Covid – การ Lockdown เมืองสำคัญของจีน ส่งผลกระทบต่อการเติบโตภายใน การบริโภคภายนอก และกระทบต่อการฟื้นตัวของราคาพลังงาน
4. การประชุม OPEC+
5.ผู้นำจีนมีแผนเดินทางเยือนผู้นำซาอุดิอาราเบีย เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 ปี นับตั้งแต่ 2016
เดือนสุดท้ายของปี ตลาดยังคงให้น้ำหนักกับนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐเป็นหลักว่าจะตัดสินใจเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอย่างไร แม้ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นอัตราเงินเฟ้อสหรัฐเริ่มปรับตัวลดลงมาเรื่อย ๆ จากระดับ High สุด 9.1% ลงแตะ 8.5% , 8.3% , 8.2% ตามลำดับ แต่เฟดก็ยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบ Jumbo rate 0.75% ติดต่อกันเช่นเดิมถึง 4 ครั้ง จนล่าสุดอัตราเงินเฟ้อลงมาแตะ 7.7.% และเริ่มมีการพูดถึงกันมากขึ้นว่าเฟดอาจจะเริ่มมีการ Downshift อัตราดอกเบี้ยลงมาบ้างในเร็วๆนี้ บางสำนักคาดกันว่าจะเกิดขึ้นในเดือนนี้ด้วยซ้ำ ทำให้ปัจจัยที่กดดันราคาทองช่วงลบในปัจจุบันดู Soft ลงกว่าช่วงเดือนก่อนหน้านั้นเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเรากลับมาพิจารณากันดูดี ๆ อีกที อัตราเงินเฟ้อ 7.7% ก็ยังดูห่างไกลจากเป้าหมาย 2% อยู่มากนัก แต่ในเรื่องการลงทุน การพิจารณาแนวโน้มมักจะประกอบด้วย ปัจจัยทางเทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน จิตวิทยาการลงทุน Sentiment หรืออารมณ์ของนักลงทุนที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผลมาจากการพยากรณ์ หรือความเชื่อของตลาดนั่นเอง ดังนั้นการที่ตลาดเกิด Technical Rebound ขนาดใหญ่จนรายเดือนที่ผ่านมากลับมาปิดเหนือ 1725 ถือเป็นการลบภาพเทรนด์ขาลงระยะกลางของทองคำให้มีแต้มต่อเป็นรีบาวน์ได้ต่อในเดือนนี้ ก็อาจจะเป็นเพราะตลาดมีความคาดหวังว่าเฟดจะเริ่มปรับลดขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ตลาดมีการคลายความกังวลมากขึ้น และกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ที่เคยลงจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างเช่น หุ้น ทองคำ มากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากเรากลับมาพิจารณาปัจจัยทางเทคนิคประกอบก็จะพบว่า สัญญาณทองคำรายเดือน เทคนิคได้ลบภาพเทรนด์ขาลงระยะกลางไปเรียบร้อยแล้ว แต่ทั้งนี้แนวโน้มทองคำระยะยาวมากกว่า 3 เดือนขึ้นก็ยังไม่ได้ชี้ชัดว่าทองจะกลับมาเป็นขาขึ้นเพื่อทดสอบ 2075 เพราะในสภาวะความจริงตลาดยังคงต้องอิงกับนโยบายของเฟด ที่ยังไม่สามารถกดอัตราเงินเฟ้อลงมาได้ตามเป้าหมาย ดังนั้นนโยบาย หรือ การคาดการณ์ของตลาดระยะดังกล่าวยังคงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต สำหรับเดือนนี้ ยังเน้นติดตามการการประกาศตัวเลข CPI สหรัฐหากมีการปรับตัวลดลงต่อ คาดว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.5% ซึ่งก็จะเป็นผลบวกต่อทองคำตามตลาดคาด เว้นแต่ CPI จะเร่งตัวขึ้น ตลาดก็จะกลับมาลดการทยอยสะสมทองคำและอาจมีแรงเทขายในรอบเดือนควรระวัง เมื่อ CPI สหรัฐเป็นตัววัดแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะต้องโฟกัสราคาพลังงานที่ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการคำนวณ CPI โดยเดือนที่ผ่านมา OPEC+ มีมติปรับลดกำลังการผลิต วันละ 2 ล้านบาร์เรลเพื่อให้เหมาะสมกับ Demand ที่ลดลง แต่สิ่งที่เป็นราคาน้ำมันก็ยังคงร่วงลงอย่างต่อเนื่อง หรืออาจเป็นเพราะระยะหลังจีนมีการปิดเมืองบางส่วนบ่อยมากยิ่งขึ้นจนปริมาณการบริโภค การใช้รถสาธารณะลดลงไปโดยปริยาย ดังนั้นนโยบาย Zero Covid ของจีนยังคงเป็นตัวแปรสำคัญต่อการการประชุม OPEC+ อย่างมาก จึงควรติดตามทั้ง 2 กรณีด้วย สุดท้ายเรื่องค่าเงินของประเทศสำคัญยังมีผลต่อการค่าเงินดอลลาร์มากน้อยแค่ไหน คงต้องติดตามกันในแง่ของนโยบายการเงินของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะ อังกฤษ ยูโรโซน รวมถึงจีนด้วย ซึ่งล่าสุดก็มีรายงานว่า ช่วงต้นเดือนนี้ ผู้นำจีนมีแผนเดินทางเยือนผู้นำซาอุดิอาราเบีย เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 ปี นับตั้งแต่ 2016 หากสามารถเจรจาการซื้อขายพลังงานเป็นสกุลเงินหยวนได้ ก็จะยิ่งเป็นผลบวกต่อราคาทองคำมากขึ้น ซึ่งก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ด้วยประเด็นที่เริ่มเรื่องดังกล่าวยังคาดหวังกันในเชิงบวก กลยุทธ์ในเดือนจึงเน้น้เป็น ย่อตัว Open Long จึงน่าจะเหมาะสมกว่า
ปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำ SW Way UP ระยะกลาง
Strategy: ย่อตัวเข้าซื้อสะสม 1755/1715 จุดละไม่เกิน 30%
แนวโน้มค่าเงินบาท
ปัจจัยทางเทคนิคภาพรวมค่าเงินบาทรายเดือนปิดไม่ค่อยสู้ดีนัก เพราะเงินบาทได้หลุดแนวฐานสำคัญที่ 35.30 ลงมาเสียแล้ว การแข็งค่ายังคงเกิดขึ้นได้ต่อเนื่อง พิจารณาแนวฐานใหม่ 34.90 หรือ 34.55 หรือแม้แต่ 33.95 ขึ้นอยู่กับปัจจัยสนับสนุนเบื้องหน้าเป็นหลัก ระหว่างเดือนอาจเกิดการรีบาวน์ขึ้นมาสลับ เช่น 35.30 / 35.52 36.00 ขึ้นมาได้ก็ยังเชื่อว่าแนวฐานดังกล่าวยังคงมีโอกาสลงมาทดสอบเช่นเดิม
ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังคงขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอื่น ๆ อาทิเช่น การเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ สกุลเงินหยวน ซึ่งเคลื่อนที่ตามความคาดหวังจาก การแกว่งตัวของตัวเลข CPI สหรัฐ ที่มีผลต่อการตัดสินใจลดปริมาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดเดือนนี้ หรือ คงอัตราดอกเบี้ยเฟดแบบ Jumbo rate เช่นเดิม แต่หากพิจารณาจากปัจจัยภายใน อัตราเงินเฟ้อของไทยยังค่อย ๆ ปรับลดลงต่อเนื่องจากระดับ high 7.68% สู่ระดับ 6.41% , 5.98% แต่ก็ยังคงต้องติดตามแนวโน้มในรอบเดือนนี้ที่จะประกาศในวันที่ 6 ธ.ค. หากยังคงลดลงก็จะสนับสนุนในทิศทางแข็งค่าอีกเล็กน้อย
กล่าวโดยสรุป การเก็งข่าวจากปัจจัยพื้นฐานยังสอดคล้องไปในเชิงการปรับตัวแข็งค่า หรือ ความสามารถในการพักฐานยังมีสูงกว่าการปรับตัวขึ้น เว้นแต่สถานการณ์ที่ตลาดคาดหวังก่อนหน้าจะให้ผลตรงกันข้าม
การคาดการณ์แนวโน้มราคาทองคำไทย
ราคาทองคำไทยแกว่งตัว Sideway ในกรอบ 29000 – 30400 เช่นเดิม
เงื่อนไขที่ 1 : หากค่าเงินบาท หลุดแนวฐาน 35.30 แต่ Gold Spot สามารถทะลุ 1795 ขึ้นมาได้ แนวรับจะยังไม่ลึกมาก พิจารณา 2 จุดที่น่าเข้าเล่นรอบ คือ 29400-200 / 29000
เงื่อนไขที่ 2 : หากค่าเงินบาท หลุดแนวฐาน 35.30 และ Spot ยังไม่สามารถทะลุ 1785 ได้ราคาทองคำไทยจะมีโอกาสปรับฐานเชิงลึกขึ้น คือ 29000 / 28800 – 28650