สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 5 เรื่องหลักคือ

  1. ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า และโอไมครอน
  2. อัตราเงินเฟ้อทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐ
  3. ความตรึงเครียดระหว่างรัสเซีย และ ยูเครน
  4. นโยบายการเงินธนาคารสำคัญ เช่น ECB BOE / FED Minute
  5. สหรัฐถึงกำหนดจะต้องนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณสหรัฐลงมติ เพื่อหลีกเลี่ยง Shutdown

       ช่วงเดือนที่ผ่านมา ทองคำถูกกดดันด้านลบจากกระแสการคาดการณ์แนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดเป็นหลัก ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยเฉพาะในสหรัฐที่แตะระดับ 7% สูงสุดในรอบ 40 ปี สหภาพยุโรปราวๆ 5% สูงสุดในรอบ 30 ปี จากแรงขับเคลื่อนหลายประการ อาทิเช่นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลังยกเลิกมาตรการ Lockdown ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น เมื่อการผลิตสินค้าไม่ทันจากการชะงักงันของห่วงโซ่การผลิต จึงเป็นเหตุให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น โควิดยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในหลายอุตสาหกรรมในบางประเทศ ค่าแรงปรับตัวสูงขึ้นเป็นวัฎจักรเช่นนี้เรื่อยมาจนเงินเฟ้อขยับขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าเฟดจะเริ่มถอนคันเร่งโดยทำ QE Tapering มาตั้งแต่ พ.ย.จนใกล้สิ้นสุดในเดือนมีนาคมนี้ก็ตาม แต่นั่นก็เป็นผลมาจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวเป็นเหตุให้ต้องยุติมาตรการดังกล่าว แต่ โควิดยังไม่ได้สิ้นสุด มาถึงจุดนี้ เราจะเริ่มเห็นว่าทองคำชอบเงินเฟ้อ เงินยิ่งเฟ้อ ทองยิ่งขึ้น เพราะนักลงทุนจะมองหาสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่ไม่ใช่เงินเฟียส หรือ เงินกระดาษ แต่ในขณะเดียวกัน ทองคำก็ไม่ชอบมาตรการสกัดภาวะเงินเฟ้อ อาทิเช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การลด Balance Sheet เพราะนั่นหมายความว่าเงินส่วนเกินที่เคยล้นระบบการเงินในช่วงที่ธนาคารกลางต่าง ๆทั่วโลกโดยเฉพาะ FED BOE ECB กำลังจะถูกดูดกลับคืนเพื่อชะลอ หรือ ควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ 2% ในระยะกลางยาวนั่นเอง ดังนั้นบ่อยครั้งที่มีการคาดการณ์ของสถาบันต่างๆ ก่อนการประชุมเฟดที่ผิดแปลกไปจากที่เฟดเคยให้ถ้อยคำแถลงการณ์ไว้ก็ย่อมส่งผลด้านลบกับทองคำเช่นกัน เช่นเดียวกับผลการประชุมเฟดล่าสุด ในบางช่วงบางตอนที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานแข็งแกร่งมากๆ มีความต้องการแรงงานหลายสิบล้านตำแหน่ง ดังนั้นเชื่อว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะไม่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงาน ทำให้หลังการประชุมเฟดเสร็จสิ้นสถาบันต่างๆ ก็ได้มีการปรับมุมมองกันใหม่ แต่ก็ให้น้ำหนักการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs คาดการณ์ว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25 bps ทั้งหมด 5 ครั้ง ในเดือน มี.ค. พ.ค. ก.ค. ก.ย. และ ธ.ค. สู่ และคาดว่า Fed จะประกาศเริ่มลดขนาดงบดุลในเดือน มิ.ย. / BoA คาดการณ์ว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 7 ครั้งในปีนี้  / BNP Paribas คาดการณ์ที่ 6 ครั้ง    / JPMorgan และ Deutsche Bank คาดการณ์ที่ 5 ครั้ง / Nomura ยังคงคาดการณ์ว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.5 bps ในเดือน มี.ค. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg ยังคงคาดการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ 5 ครั้งในปีนี้ ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวในระยะแรก เรายังให้น้ำหนักในเชิงลบต่อทองคำ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนักลงทุนจะเริ่มชิน เริ่มมีการวางแผนการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์การส่งผลลบต่อการคาดการณ์หนักหน่วงเช่นนี้จะเริ่มน้อยลงเพื่อเปิดทางให้ปัจจัยบวกแทรกซึมตลาดมากขึ้น อาทิเช่น ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย ยูเครนที่ยังไม่มีท่าทีสิ้นสุดตราบใดที่ยังไม่มีการรับประกันจาก NATO ว่า จะไม่รับยูเครนและประเทศซึ่งเคยอยู่ในอดีตสหภาพโซเวียตเข้าเป็นสมาชิก รวมถึงข้อเรียกร้องให้สหรัฐและพันธมิตรถอนกำลังทหารออกจากกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตด้วย ส่วนนโยบายการเงินธนาคารกลางอื่นๆ เช่น BOE ที่คาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปีนี้ 4 ครั้งเรายังให้น้ำหนักเชิงลบที่น้อยกว่าเฟดมาก ๆ และยังเชื่อว่า มาตรการกระตุ้นของ ECB ที่ยังคงมีอยู่ยังถือเป็นปัจจัยด้านบวกหนุนส่วนลบตรงนี้ได้พอควรแม้จะไม่มากนัก แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นให้น้ำหนักทุ่มไปทางลบทั้งหมด เพราะตราบใดที่ Covid 19 ยังคงมีอยู่และประเทศจีนยังใช้นโยบาย Zero Covid เช่นนี้ความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหา Supply Chain ก็ยังคงมีทุกเมื่อเช่นกัน และนี่ก็ยังเป็นโจทย์หลักว่า นโยบายการเงินที่วางไว้ หรือคาดการณ์ทั้งหลายควรจะมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่อย่างไรในการประชุมเฟดที่เหลือ สำหรับเดือนนี้คงต้องรอ FED Minute เป็นหลักว่าจะมีส่วนใดเพิ่มเติมจากที่ตลาดรับรู้ล่าสุดหรือไม่ กลยุทธ์ยังเป็นรอย่อตัวเข้าซื้อตามจุดรับน่าจะปลอดภัยกว่า

ปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำยังอยู่ในอาณาเขต Handle Cup

       ด้วยสถานการณ์ที่กล่าวข้างต้นยังคงเป็นลบต่อทองคำอยู่บ้างในแง่ของช่วงแรกของนโยบายตึงตัว แต่คาดว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงเหมือนเช่นปี 2013 ดังนั้นจึงอาศัยแนวรับทางเทคนิคเข้าสะสมทองคำเมื่อปรับฐาน

   “ บริเวณ 1770-65/ 1732 ”จุดละไม่เกิน 20-25%

 

       ปัจจัยพื้นฐานภายในยังได้รับข่าวบวกช่วงต้นปีถ่วงค่าเงินบาทแข็งค่าได้เล็กน้อยตามมาตรการของขวัญปีใหม่ 2565 เพื่อเป็นการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ประชาชน 2 โครงการ แบ่งเป็น ช้อปดีมีคืน / มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย และ มาตรการลดภาระผู้ประกอบการและ/หรือประชาชน 3 โครงการ คือ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบและไพ่ / ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น / มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยังถือเป็นปัจจัยด้านบวกดึงค่าเงินบาทให้แข็งค่าช่วงสั้นแต่เชื่อว่าไม่น่าทำให้หลุดเทคนิคกรอบล่าง 32.65 ลงมาได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยภายนอกกดดันค่าเงินบาทให้กลับมาอ่อนค่าคือการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปภายนอกเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่า หาก FED มีท่าทีที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือเร่งนโยบายการเงินให้มีความเข้มงวดเพื่อสกัดเงินเฟ้อภายในประเทศ

โดย แนวต้าน ของค่าเงินบาทรายเดือน   33.45 / 33.68 / 33.96 / 34.36
และ แนวรับ ของค่าเงินบาทรายเดือน   33.12 / 32.89 / 32.69

กลยุทธ์ของกรอบราคาทองไทย 96.5%

       ภาพรวมของค่าเงินบาทยังคงอยู่ในช่วง Sideway ในกรอบกว้าง การผ่านแนวต้าน 33.96 ในช่วง 3 ครั้งที่ผ่านมายังคงยาก แต่เชือว่าครั้งนี้จะเริ่มมีปัจจัยคาดการณ์ดอกเบี้ยของเฟดเข้ามาเป็นแรงผลักดันให้ผ่านง่ยขึ้นกว่าเดิมอีกระดับหนึ่ง ขณะที่ภายในประเทศยังมีข่าวดีในเรื่องวัคซีนแต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะทำให้หลุดแนวฐาน 32.65 ลงไปแต่อย่างใด ขณะที่ Gold Spot ตราบใดที่ยังไม่สามารถผ่าน 1835 เช่นนี้ เนื่องจากความกดดันของการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ยังคงกดดันตลาดในช่วงไตรมาสแรกของปี แต่ก็ยังคงลุ้นการเข้าสะสมราคาทองคำไทย หรือ แบ่งเล่นรอบทำกำไรตามความเหมาะสม พิจารณาแนวรับ 2 ระดับ บริเวณ 28150-050 / 27750