สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 3 เรื่องหลักคือ

    1.ความเสี่ยงของการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ต่อมาตรการล๊อกดาวน์    
    2.แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น
    3.เฟดเริ่มเพิ่มวงเงิน QE Tapering จาก $15bn ต่อเดือนเป็น $30bn ต่อเดือน       

      ท่ามกลางการระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า ต่อ ด้วยสายพันธุ์โอไมครอนที่มีการแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิมหลายเท่า แม้ความรุนแรงจะน้อยกว่าจนไม่เกิดการ Lockdown ทั้งประเทศแบบเมื่อปีที่ผ่านๆมา เนื่องด้วยการเข้าถึงวัคซีนในปริมาณที่มากขึ้น มีการ Booster dose มีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ประชากร นักธุรกิจมีการปรับตัว เรียนรู้เพื่อจะอยู่ร่วมกับ CV19 ก็ตาม แต่อย่าลิมว่าสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก่อนหน้าคือ การทำงานของเงินอัดฉีดอย่างมหาศาลทั่วโลกกำลังเผชิญเป็นตัวเร่งให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นและคงอยู่ตราบใดที่เม็ดเงินอัดฉีดยังคงมีอยู่ และยังอยู่ต่อไปแบบค่อย ๆ ลดลงแม้ว่าเฟดจะเริ่มยุติการทำ QE แล้วก็ตาม หากจะมาทบทวนสิ่งที่เฟดประกาศก่อนหน้าคือ ธนาคารกลางสหรัฐได้เริ่มลดขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ลงในเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ระดับ 15 พันล้านต่อเดือนจาก 120 พันล้านดอลลาร์เป็น 105 พันล้านดอลลาร์ และเป็น 90 พันล้านดอลลาร์ในเดือน ธันวาคมแสดงว่าหากเดือนมกราคมนี้เฟดเพิ่มความเร็วในการลดการเข้าซื้อสินทรพย์ลงเป็น 2 เท่า แทนที่จะเป็น 15 พันล้านดอลลาร์ แต่กลายเป็น 30 พันล้านดอลลาร์ทุกเดือนแสดงว่า QE จะสิ้นสุดและมีค่าเท่ากับ 0 เมื่อสิ้นสุดเดือนมีนาคมเช่นกัน ระหว่างนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Balance Sheet ยังคงขยับขึ้นแต่เริ่มขึ้นในอัตราที่น้อยลง หากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นนั้น ส่วนประกอบหนึ่งมาจากเงินอัดฉีดก็แสดงว่าเงินเฟ้อก็ยังคงดำรงอยู่ในระดับสูงต่อไปในไตรมาสที่ 1 และอาจค่อยๆ ลดลงในไตรมาสถัดๆไป ที่เฟดเตรียมตัวจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยปกติแล้วการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะให้ผลเชิงลบ และมักควรจะเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวแล้ว เพราะนั่นหมายความว่า เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนตัวเองได้ เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น กำไรของบริษัทจดทะเบียนอาจลดลงหากก่อนหน้าก่อหนี้สินเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่น่าห่วงของการทำ Tapering รอบนี้คือ ปัจจัยที่ทำให้ให้เกิด QE อย่าง CV19 ยังไม่หมดสิ้น และก็ไม่แน่ชัดเลยว่าการกลายพันธุ์จะมีอีกหรือไม่ และแนวโน้มของเชื้อกลายพันุ์จะอ่อนกำลังลงจนเริ่มเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจท่ามกลางการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันได้หรือไม่ แต่แน่ๆ เมื่อปัจจัยเหล่านี้จบสิ้นโลกก็เริ่มเข้าสู่ความขัดแย้งเดิม ๆ เพิ่มเติมคือยุคสมัยที่เปลี่ยนไปที่ อาทิเช่นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ และ จีน ทั้งในด้านกำแพงภาษี และปัญหาทางการค้าที่เริ่มมีการขัดแย้งมาตั้งแต่ปี 2018 / การทบทวนข้อตกลงใหม่สำหรับบริษัทจีนที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐเพื่อกลับมาเทรดในตลาดฮ่องกงแทน / การกล่าวหาจีนก่อนหน้าถึงการเข้าถึงเงินทุนและเทคโนโลยีของสหรัฐ จนนำมาซึ่งการขึ้นบัญชีดำบ.จีนบางแห่ง / ข้อกล่าวหาจุดเริ่มต้นการระบาด CV19 / สหรัฐคว่ำบาตร จนท.จีน 40 คน สืบเนื่องสิทธิชาวฮ่องกง /การกล่าวหาจีนเรื่องการสอดแนม แฮ๊กเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงการเข้าถึง Technolgy และงานวิจัยที่ล้ำสมัยซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นจีนอย่างมาก และอื่นๆ อีกมากมายเช่น ประเด็น Huawei ,Tiktok ,We Chat ซึ่งยากที่จะประสาน ดังนั้นหากเรื่องราวต่าง ๆ สิ้นสุด ประเด็นเหล่านี้ก็จะผุดขึ้นมาแทนที่ให้โลกต้องกังวลกับความเสี่ยงดังกล่าว ที่นอกเหนือจากผลกระทบทางเทศรษฐกิจที่ต้องแก้ไข จึงให้น้ำหนักการปรับฐานระยะสั้นเพื่อกลับมาบวกอีกครั้งสำหรับทองคำในปีนี้

ปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำยังอยู่ในอาณาเขต Handle Cup

       ด้วยสถานการณ์ที่กล่าวข้างต้นยังคงเป็นลบต่อทองคำอยู่บ้างในแง่ของช่วงแรกของนโยบายตึงตัว แต่คาดว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงเหมือนเช่นปี 2013 ดังนั้นจึงอาศัยแนวรับทางเทคนิคเข้าสะสมทองคำเมื่อปรับฐาน

   “ บริเวณ 1772-62 / 1732 ”   จุดละไม่เกิน 20-25%

       สำหรับประเทศไทยในแง่ของวัคซีนก็มีลุ้นข่าวดีอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยตั้งเป้าจะเป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนในอาเซียน ผลักดันวัคซีน 4 ชนิดแบรนด์ไทยเพื่อคนไทย เช่น ChulaCov19-จุฬา (ซึ่งปีนี้มีลุ้น) / HXP-GPO Vac-อภ (ทดลองระยะที่3 ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรชื่ดังของสหรัฐ หากสำเร็จจะสามารถผลิดได้ 10-20 ล้านโดส แต่เป็นเชื้อตาย) / ใบยา – ใบยาไฟโตฟาร์ม(คาดว่าสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปีนี้) / พ่นจมูก-ไบโอเทค(สร้างภูมิคุ้มกันของทางเดินหายใจส่วนบน)  ซึ่งหากทำได้จะช่วย เพิ่มการเข้าถึงวัคซีนได้ง่ายขึ้น เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้เร็วขึ้น ป้องกันการเสียชีวิต และสามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้อย่างมาก ขณะที่รัฐบาลไทยก็มีการทุ่มงบกว่า 6 พันล้านบาทแล้วในการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับวัคซีน ปัจจัยนี้ถือเป็นข่าวดีให้ค่าเงินบาทยังสามารถปรับตัวแข็งค่าได้ในระยะสั้น ๆ ขณะที่ภาพรวมระยะกลางถึงยาวยังคงเช่นเดิมมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อตามเทรนด์นโยบายเศรษฐกิจโลก ทั้งการลดการอัดฉีดเงิน และ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น

โดย แนวต้าน ของค่าเงินบาทรายเดือน   33.46 / 33.64 / 33.96
และ แนวรับ ของค่าเงินบาทรายเดือน   33.24 / 32.90 / 32.60

กลยุทธ์ของกรอบราคาทองไทย 96.5%

       ภาพรวมของค่าเงินบาทยังคงอยู่ในช่วง Sideway ในกรอบกว้าง การผ่านแนวต้าน 33.96 ยังคงยาก แม้ว่าจะเป็นเดือนของการที่เฟดเริ่มปรับเพิ่มวงเงินการทำ QE Tapering แต่ก็ไม่ใช่เดือนของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ภายในประเทศยังมีข่าวดีในเรื่องวัคซีนแต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะทำให้หลุดแนวฐาน 32.65 ลงไปแต่อย่างใด ขณะที่ Gold Spot ตราบใดที่ยังไม่สามารถผ่าน 1833 เช่นนี้ เนื่องจากความกดดันของดูดสภาพคล่องของหลายประเทศในภูมิภาคโดยเฉพาะสหรัฐ ก็ยัคงลุ้นการเข้าสะสมราคาทองคำไทย หรือ แบ่งเล่นรอบทำกำไรตามความเหมาะสม พิจารณาแนวรับ 3 ระดับ บริเวณ 28200 / 27950 / 27650