สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 3 เรื่องหลักคือ
- ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย ยูเครน นำมาสู่มาตรการคว่ำบาตรระหว่างชาติตะวันตกและรัสเซีย เกิดเป็นวิกฤตอาหาร และ วิกฤตพลังงาน
- นโยบายการเงินของธนาคารกลาง FED ECB / ความเสี่ยง Recession
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐและทั่วโลก
ช่วงเดือนที่ผ่านมาทองคำเคลื่อนไหว Sideway ไม่กว้างมากนักเพียง 1878 – 1802 หรือราวๆ 76 เหรียญโดยประมาณ โดยส่วนใหญ่มักจะถูกกดดันด้านลบจากนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดเป็นหลัก โดยเดือนที่ผ่าน FED มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps. ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งเฟดเองก็มิได้ชี้ชัดมากนักว่าการประชุมครั้งถัดไปจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps. หรือ 50 bps.แต่ก็เริ่มมีหลายค่ายรวมถึง CME FED Watch ต่างก็ออกมาให้น้ำหนัก 75 bps. กันมากขึ้นแต่การตัดสินใจของเฟดนั้นก็คงจะขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อและแนวโน้มเศรษฐกิจ Dot Plot มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยโดยประมาณการณ์ว่าดอกเบี้ยปีนี้ค่ากลางอาจขึ้นไปถึง 3.4% ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูงมากสุดในรอบกว่า 40 ปี ที่ระดับ 8.6% และแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ทำให้เกิดกระแสวิพากวิจารณ์กันว่า สหรัฐน่าจะมีความเสี่ยงที่จะเกิด Recession มากขึ้น และเริ่มมีการปรับเปลี่ยนมุมมองด้าน Recession กันใหม่ล่าสุด Goldman Sachs ให้น้ำหนักโอกาสเกิด Recession ในอีก 2 ปีข้างหน้าจาก 35% ปรับขึ้นไป 48% | Morgan Stanley ปรับความน่าจะเป็นในอีก 12 เดือนข้างหน้า เป็น 30% ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน | JP Morgan ให้น้ำหนักมากถึง 35% ไปแล้ว | Bank of American มอง ว่าจะเกิดขึ้นในครึ่งหลังปีหน้าสูงถึง 40% | Deutsche Bank มองว่าจะเกิดสิ้นปี 2023 เพราะขนาดคุณพาวเวลเองระยะหลังเวลาขึ้นกล่าวในเวทีใด หรือแม้แต่ testifies ต่อสส. และ สว. ก็ยังแสดงความกังวลว่า การ Soft landing ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ความเสี่ยง Recession ยังคงมี เพราะปัจจัยที่เฟดไม่สามารถควบคุมได้ อาทิเช่น ราคาพลังงาน สงครามรัสเซีย ยูเครน ปัญหา Supply chain ที่มาจากการปิดเหมืองของจีนตามนโยบาย Zero-Covid ที่ผ่านมายังสร้างความไม่แน่นอนให้อยู่เสมอในอนาคต…สำหรับเดือนนี้ก็มีอีกหลายปัจจัยที่น่าติดตาม อาทิเช่น FED minute ที่ต้องติดตามว่ามีแถลงการณ์อื่นๆเพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ ความเสี่ยง Recession มุมมองของเฟดต่ออัตราเงินเฟ้อทั้งในสหรัฐและทั่วโลก มุมมองต่อปัจจัยผันแปรต่างๆ..ที่เข้ามากระทบ ศก.สหรัฐ ขณะที่ตลาดก็ไม่ควรพลาดการประชุม ECB ในเดือนนี้เช่นกัน เพราะรอบนี้มีโอกาสสูงที่ ECB จะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยก็ 25 bps. อย่างมากก็ 50 bps. เพื่อดึงอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบ -0.5% ให้กลับขึ้นมาเหนือ 0% ให้ได้ภายในสิ้น Q3 สาเหตุหนึ่งก็เป็นเพราะอัตราเงินเฟ้อของยุโรปก็ร้อนแรงไม่เบาล่าสุดขยับขึ้นเป็น 8.1% และดูเหมือนว่าความรัอนแรงจะไม่หยุดเพียงเท่านี้ เพราะรัสเซียได้ประกาศจะลดการการส่งก๊าซผ่าน Nord Stream 1 ไปเยอรมนีเหลือเพียง 40% และจะวาวสนิท 100% เป็นเวลา 10 วัน ในช่วงกลางเดือน กค. เพื่อซ่อมบำรุงท่อตามคำกล่าวอ้าง ครั้นจะหันหน้าเข้าพึ่งสหรัฐในช่วงนี้อย่างเต็มตัวก็คงจะลำบาก ในเมื่อสหรัฐเองก็ขาดแคลนก๊าซ ราคาพุ่งขึ้นสูงอย่างมาก จากที่เคย $3 กว่าต่อแกลอน กลายเป็น $$5 กว่าต่อแกลอนกันเลยทีเดียว และดูเหมือนว่าปีนี้สหรัฐจะส่งแก๊สให้ยุโรปเพียง 10% ของที่รัสเซียเคยส่งให้ยุโรปเท่านั้น คะแนนนิยมโจ ไบเดนก็ตกต่ำมากที่สุดเป็นประวัติการณ์น้อยกว่า 30% กันแล้ว หลังจากนี้ไปภาพเศรษฐกิจจะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเราจะเริ่มเห็น Action ของธนาคารต่าง ๆ ทั่วโ,กกำลังดิ้นรนต่อสู้กับเงินเฟ้ออยู่และนโยบายสำคัญของเขาคือ ขึ้นดอกเบี้ย ทำ QT ลด Balance Sheet ขณะที่เศรษฐกิจก็ไม่ดีนักแต่จำเป็นต้องทำ จึงไม่แปลกใจเลยที่ภาพของ Recession จะเริ่มชัดขึ้นมาขนาดนี้ ดังนั้นในปัจจัยลบก็มีภาพปัจจัยบวกบวกซ่อนอยู่รอวันปะทุสำหรับนักลงทุนย่างเราควรหาจังหวะเข้าสะสมน่าจะเป็นแนวทางที่ดีทั้งแง่ของเงินเฟ้อ และ Recession ในอนาคต
ปัจจัยทางเทคนิค : ทองอยู่ในอาณาเขต Double Top-Bottom
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนรายเดือน ใช้เทคนิคการตั้งรับทยอยเข้าสะสม หรือแบ่งทำกำไรบ้างตามความเหมาะสม โดยแบ่งไม่การลงทุน เป็น …
” 1782 [20%] / 1766-56 [25%] และ 1725-15 [30%] ของพอร์ต “
กระแสเงินทุนไหลออก หรือ การทำ Carry Trade การหาผลกำไรจากส่วนต่างของต้นทุนทางการเงิน ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าลง รวมถึงเงินเฟ้อยังคงเป็นตัวเร่งอย่างมากให้ค่าเงินในประเทศนั้นๆ อ่อนค่ารวมถึงค่าเงินบาทด้วย สำหรับไทยเองเราลดการประชุม กนง. เหลือ 6 ครั้งต่อปีปีนี้เป็นปีแรก ขณะที่เฟดยังคงมีการประชุม 8 ครั้งต่อปีเช่นเดิม และยังมีแนวโน้มที่จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพื่อปราบเงินเฟ้อให้จงได้ การปรับตัวแข็งค่าของค่าเงินบาท หรือจะกลับมาแข็งค่าได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น 1.ดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าอย่างมีนัยสำคัญ 2. BOT อาจเข้าควบคุม หรือแทรกการเคลื่อนไหวเป็นการเฉพาะ เช่น ขายดอลลาร์ ซื้อค่าเงินบาท / ประชุมฉุกเฉินเพื่อปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือ ประชุมนัดปกติแต่มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าคาด 3. ภาคการท่องเที่ยว หรือ การส่งออกกลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ
โดย แนวต้าน ของค่าเงินบาทรายเดือน 35.78-82 / 35.98 / 36.28 / 36.92
และ แนวรับ ของค่าเงินบาทรายเดือน 35.30 / 34.95 / 34.30
กลยุทธ์การลงทุนทองคำไทย
ทองคำไทยยังได้แรงส่งจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาท ทำให้เวลา Gold Spot ปรับฐาน แต่ราคาทองคำทยก็ยังคงไม่ลงต่ำมาก ทั้งนี้ค่าเงินบาทยังอย่ในช่วง Wave ขา 5 ความหมายคือการอ่อค่ายังคงรุนแรงและรวดเร็ว แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ ขา 5 เป็นขาสุดท้ายของการอ่อนค่า อาจจะมีความเป็นได้หลายจุดที่จะจบขา 5 ตั้งแนวต้านใดแนวต้านหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น 35.82 / 36.28 / 36.92 หรืออาจจะเป็นจุดหนึ่งจุดใดอื่นๆ การปรับฐานแข็งค่าย่อมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ควรระวังมากเป็นพิเศษ เพราะราคาทองคำไทยอาจจะปรับฐานลงแรงได้หากเกิด Case ดังกล่าว กลยุทธ์จึงแบ่งไม้การเข้าสะสมดังนี้
คือ จุดแรก = 30,000 / จุดที่ 2 = 29,600-500 และจุดที่ 3 หากมีโอกาส 29,200
(ทั้ง 3 จุดสะสม สารมารถ +/- ค่าความคลาดเคลื่อน ในช่วง 0-100ได้)