สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 5 เรื่องหลักคือ
- FED เริ่มลด Balance Sheet เดือนละ $47.5 Bn
- ประชุม FOMC คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ติดตามถ้อยแถลง + New Dot Plot
- ประชุม BOE คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25%
- แนวโน้มอัตราเงินฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูงทั่วโลก วิกฤตอาหาร วิกฤตพลังงาน
- สงครามรัสเซีย – ยูเครน / ฟินแลนด์ สวีเดน สมัครเข้านาโต้ มาตรการคว่ำบาตรที่ ฝั่งตะวันตก NATO ปฏิบัติต่อรัสเซีย และรัสเซีย ปฎิบัติกลับ
หากพิจารณาจากปัจจัยโดยรวมของตลาดทองคำแล้ว ส่วนใหญ่จะเริ่มเข้านโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะเฟดที่กำลังเริ่มลด Balance Sheet ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ เดือนละ $47.5 Bn ต่อไปอีก 3 เดือน และหลังจากนั้นจะเริ่มปรับขึ้นเป็นเดือนละ $95 Bn ซึ่งตัวเลขดังกล่าวก็ยังถือว่าน้อยกว่า ช่วงที่อัดฉีดเข้าไปต่อเดือนอย่างมาก กล่าวคือ ตอนอัดฉีด อัดฉีดไปเดือนละ $120 Bn. นี่ไม่นับรวมวงเงินก้อน Unlimit แต่ละโครงการก่อนหน้าอีกที่ทำให้ Balance Sheet เบ็ดเสร็จของเฟดบวมไปมากถึงรวม 8.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเฟดยังคาดหวังว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งละ 50 bps. ในการประชุมรอบนี้และรอบหน้า ทั้ง 2 เรื่องนี้ถือเป็นประเด็นเปิดลบรอบเดือนนี้เลยก็ว่าได้ แต่ถามว่าลบมากพอที่ลากทองลงไปเป็น 150-200 เหรียญได้เลยมั้ย คงต้องว่าเลยว่า ไม่ใช่ เพราะ 1.นี่คือสิ่งนักลงทุนคาดหวังว่าตัวเลขดังกล่างไม่ถือเป็นการเร่งหรือรีบร้อนจนเกินไป 2. ตลาดรับรู้ปรับสถานะกันมาพอควรแล้วทั้งตลาด หุ้น ทองคำ พันธบัตร ค่าเงิน หรือ สินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ หรือแม้แต่ Cpyto Currencies 3.ตอนนี้ FED ยัง Behind the curve อยู่มาก ทำให้ Real Yield หรืออัตราผลตอบแทนที่แท้จริงยังติดลบอยู่มากเมื่อหักออกจากเงินเฟ้อในปัจจุบัน 4.ยังมีความสุ่มเสี่ยงอื่นๆ ในตลาดอีก อาทิเช่น สงครามรัสเซีย ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อกันอยู่ได้ผลักดันให้ราคาอาหารทั่วโลกแพงขึ้น บางประเทศมีการงดการส่งออกอาหารเพื่อกักตุนไว้ใช้ยามจำเป็นหลายต่อหลายครั้ง และหลายประเทศ อาทิเช่น อินเดีย จำกัดการส่งออกข้าวสาลี น้ำตาล / มาเลเซียงดการส่งออกไก่สด อินโดนีเซียก็เคยระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มไปก่อนหน้า จนเกิดการขาดแคลนในหลายประเทศ สหรัฐขาดแคลนนมผงเด็กอย่างหนัก ถึงขั้นต้องส่งเครื่องบินทหารไปขอซื้อนมผงจากต่างประเทศอย่างเยอรมนีแต่ก็ได้มาในปริมาณจำกัด และอื่นๆ อีกหลายประเทศมีผู้หิวโหยและอดอยากเป็นจำนวนมาก ไม่วายราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ลุกลามมาถึงการออกกฏระเบียบใหม่สำหรับชาติอริที่ต้องการซื้อพลังงานรัสเซีย ได้ทำให้เงินเฟ้อยุโรปพุ่งแตะระดับ 8.1% และคาดว่านี่ไม่ใช่จุดสูงสุดด้วยซ้ำ ขนาดสหรัฐผู้ผลิตนำมันได้มากที่สุดในโลกแต่ก็บริโภคมหาศาลยังเผชิญกับราคาเบนซินที่วิ่งขึ้นไม่หยุด เงินเฟ้อคงไม่ต้องถามและก็เชื่อ 8.5% ในเดือนมี.ค.คงไม่ใช่ตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นแน่ และการที่สหรัฐ สมาชิก NATO ยังสุ่มไฟสงครามสนับสนุนทั้งอาวุธ และเงินทุนให้กับยูเครนไม่หยุดแม้ว่าจะเป็นเงินกู้มิใช่การให้เปล่าก็ตาม รวมถึงการพยายามผลักดันรับฟินแลนด์ สวีเดนเข้าเป็นสมาชิกนาโต้อีก นี่ก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นแล้วชาติดังกล่าวมิได้อยากให้สงครามยุติแต่อย่างใดเลย สุดท้ายก็คงเป็นงานยากของเฟด หรือแม้แต่ธนาคารอื่น ๆ อาทิ เช่น BOE ECB ที่ต้องมานั่งแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่ดูท่าทีว่าจะไม่ลดลงง่าย ๆ แต่หากจะขึ้นดอกเบี้ยรวดเดียวแบบอยู่หมัดก็คงหนีไม่พ้น Recession เป็นแน่ แต่หาจะค่อย ๆ ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปทีละ Step 2 Stepก็แสดงว่าเงินเฟ้อก็คงต้องอยู่ต่ออีกนานกว่าที่ตลาดคาดก็เป็นได้ สุดท้ายแล้วก็ยังเชื่อว่าทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่น่าหาจังหวะเข้าสะสมอยู่เช่นเดิม เพียงแต่ต้องอาศัยปัจจัยทางเทคนิคเข้ามาจับ เพราะช่วงราคากำลังพักฐานเช่นนี้ การเข้าซื้อมากจุด หรือ แนวรับสูงจนเกินไป ก็คงไม่ดีแน่ ๆ เพราะกว่าจะถึงเวลาที่ปัจจัยบวกเริ่มทำงานจริงๆ ก็อาจทำให้เสียโอกาสได้ราคาดีๆ จังหวะเหมาะก็เป็นได้
ปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำอยู่ใน Double Top-Bottom
CASE 1: ดูเป็นไปได้มากที่สุด = สงครามรัสเซีย ยูเครน ยืดเยื้อ + ฟินแลนด์ สวีเดน อยู่ระหว่างผลักดันเข้า NATO + เฟดคาดหวังขึ้นดอกเบี้ยเพียง 50 bps ในการประชุม มิ.ย.- ก.ค.+ ลด Balance Sheet 47.5 Bn ไปอีก 3 เดือนไม่เปลี่ยนแปลงตัวเลข = รอย่อตัวน่าสะสม 1760/1720
CASE 2: ดูเป็นไปได้มาก = สงครามรัสเซีย ยูเครน ยืดเยื้อ + ฟินแลนด์ สวีเดน อยู่ระหว่างผลักดันเข้า NATO + เฟด Surprise ขึ้นดอกเบี้ยเดือน มิ.ย. มากกว่าที่ตลาดคาดก่อนหน้า หรือ คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนไปมากขึ้น + ลด Balance Sheet ตามกำหนดเดิม = รอย่อตัวเข้าสะสม 1735-20 / แล้วค่อยพิจารณาจุดอื่นเพิ่มตามน้ำหนักของแรง Surprise
CASE 3: ดูเป็นไปได้ปานกลาง = สงครามรัสเซีย ยูเครน ยืดเยื้อ + ฟินแลนด์ สวีเดน อยู่ระหว่างผลักดันเข้า NATO + เฟดคาดว่า หรือ ขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่ตลาดคาดในเดือน มิ.ย. – ก.ค.+แต่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่า 8.2% = อาจพิจารณาเข้าซื้อ 1800/1760-50 ก่อน
** ทั้งนี้หากมีสถานการณ์อื่นใดนอกเหนือเพิ่มเข้ามาแทรก อาทิ เช่น ความขัดแย้งทางทะเลจีนใต้ / เงินเฟ้อสูงกว่า 8.5% / สถานการณ์รัสเซีย ยูเครน ลามมาถึงการแบ่งแยกดินแดน ออก-ตก / ความเสี่ยง Recession เพิ่มขึ้น ก็อาจจะต้องขยับแนวรับในแต่ละกรณีขึ้นไปให้สูงขึ้นอีก
แนวโน้มค่าเงินบาทโดยรวมยังคงอ่อนค่าต่อ 34.48/34.97/35.25 ตามลำดับ ประกอบกับสถานการณ์ต่างๆยังคงเป็นใจ อาทิเช่น เฟดยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาด หรือมากกว่าคาดก็ยิ่งสนับสนุนบาทอ่อนค่าต่อ แต่ไม่ควรน้อยกว่าคาด รวมถึงการลด Balance Sheet ของเฟดยังคงมีอย่างต่อเนื่องเดือนละ $47.5Bn 3 เดือนแรก ขณะที่ปัจจัยภายใน วันที่ 8 มิ.ย.จะมีการประชุม กนง.หากไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก คาดว่าจะยิ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าไปตามคาดหรือเกินกว่าคาดได้ไม่ยากนัก แต่ในทางกลับกันหาก กนง.ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย แล้วไม่ทำให้เงินบาทกลับมาหลุด 33.64 ลงมา ก็ถือว่าในทางเทคนิคไม่เสียเทรนด์การอ่อนค่า
โดย แนวต้าน ของค่าเงินบาทรายเดือน 34.48 / 34.97 / 35.25
และ แนวรับ ของค่าเงินบาทรายเดือน 34.20 / 34.0 / 33.77 / 33.20