สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 3 เรื่องหลักคือ
- สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย ยูเครน จนมาถึงมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐ และ ชาติพันธมิตรตะวันตก
- นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลาอื่นๆ
- อัตราเงินเฟ้อ
สงครามรัสเซีย ยูเครนจะจบลงแบบใดยังไม่เป็นทราบแน่ชัด แต่ที่แน่ชัดคือทองคำถูกเลือกให้เป็น Save Haven ทุกครั้งเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะคับขันอย่างที่เคยเห็นกันมาแล้วเมื่อครั้งเกิดการระบาดของโควิด 19 นำมาสู่การ Lockdown ปิดประเทศ เหมืองทองได้รับผลกระทบ ทองคำดีดตัวทันที วันเดียวเกือบ …… เหรียญ ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เช้าวันที่ 24 ก.พ ปธน.ปูติน มีคำสั่งปฏิบัติการพิเศษทางการทหารโจมตีไซเบอร์ และทิ้งบอมด์ถล่มสาธารณูปโภคของยูเครน ขณะที่ทั่วโลกกำลังเกาะติดสถานการณ์ข่าวอย่างใกล้ชิด ทองคำก็ไม่ได้รีรอดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงเวลาไม่ถึงวันบวกถึง….. เหรียญเลยทีเดียว ก่อนทิ้งตัวลง…. และปิด… ขณะที่ Crypto currency ตลาดหุ้น พันธบัตร ต่างร่วงระนาวเรียกว่าต่อแถวทิ้งดิ่งแทบไม่ทัน … ณ วันนี้บานปลายเข้าสู่วันที่ 7 โดยยังไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุด แต่เหตุการณ์ที่ยังคงดำเนินอยู่กลับบีบครั้นและทำให้รู้สึกว่า กำลังจะบานปลาย หรือเลวร้ายลงไปอีกหรือไม่ เมื่อสงครามครั้งนี้ไม่ใช่ประเทศเล็ก ชนกับ ประเทศเล็ก แต่กลับเป็นประเทศมหาอำนาจ กับ ประเทศที่เป็นประตูภูมิรัฐศาสตร์สำคัญที่สามารถไปสู่สงครามมหาอำนาจอย่างที่คาดไม่ถึง ….หากรัสเซียถูกบีบให้หลังชนฝา หรือไม่มีทางเลือกใดๆ อย่าลืมนะค่ะว่าครั้งหนึ่งรัสเซียก็คือสหภาพโซเวียตผู้ยิ่งใหญ่ ก่อนที่จะแตกออกเป็น 15 ประเทศหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 และประเทศเหล่านั่นก็ได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้เรื่อยๆจนถึง ปจบ.เหลือเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นก็สามารถล้อมเกาะเคาะประตูบ้านรัสเซียได้ง่ายๆ แล้ว เชื่อว่าสถานการณ์รอบนี้เดินมาไกลเกินที่จะหวนคืนสู่โต๊ะเจรจากันได้ง่ายๆ โดยปราศจากกำลังทหารที่จะกระทำควบคู่ ข่มไปขู่มา แนวทางการคว่ำบาตรก็เดินหน้าต่อไปอย่างหนักหน่วงบานปลายจนมาถึงขั้นการตัดธนาคารบางแห่งของรัสเซียออกจากระบบ Swift ระบบการเงินโลกที่เปรียบเสมือนคนโดนตัดอินเทอร์เน็ตยังไงยังงั้นก็ว่าได้ จนมีผู้เชี่ยวชาญออกมาประเมินว่ามาตรการดังกล่าวอาจทำให้ GDP รัสเซียหดได้มากถึง 5%เลยทีเดียว ส่วนมุมของการเจรจาก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทั้งรอบแรกและรอบสอง ต่างฝ่ายต่างมีข้อเรียกร้องเฉพาะตัว เช่น ยูเครนมีข้อเรียกร้องให้รัสเซียต้องทำข้อตกลงหยุดยิงทันที และต้องถอนกำลังออกจากแผ่นดินยูเครน ส่วนฝ่ายรัสเซียก็มีข้อเรียกร้องหลักคือ ยูเครนต้องไม่เข้านาโตและยูเครนต้องเป็นรัฐที่เป็นกลาง ไม่ติดตั้งอาวุธ และจะไม่เข้าไปจากการมีส่วนร่วมกับสงครามของรัฐอื่น หรือสงครามใดๆ ก็ตามที่ในอนาคต โดยหลักการนี้ยังไม่มีเกณฑ์เฉพาะเจาะจงในการพิจารณาว่ารัฐใดเป็นกลาง แต่ในด้านการทหารนี่หนักเหลือเกิน รัสเซียเริ่มใช้อาวุธที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น หรืออาวุธต้องห้ามต่างๆ โดยประกาศเตือนห้ามประเทศใดเข้ามายุ่งเกี่ยวเด็ดขาด สหรัฐเองก็เคยประกาศว่าจะไม่ส่งทหารเข้าไปร่วมรบกับยูเครนเพื่อหลีกเลี่ยงการทำสงครามโดยตรงกับรัสเซีย เพราะทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มีอาวุธนิวเคลียร์ร้ายแรงในปริมาณที่ไล่เลี่ยกัน และคงไม่เป็นผลดีต่อโลกแน่นอนหากสงครามครั้งนี้จะกลายเป็นสงครามโลกที่ 3 ที่จะไม่มีใครเป็นผู้ชนะที่แท้จริงแต่อย่างใด สหรัฐยังคงทำสงครามน้ำลายต่อเนื่อง ร่วมกับมาตรการคว่ำบาตรอย่างแข็งขัน เพื่อเป็นการกดดันให้รัสเซียยอมถอยกลับเข้าสู่การเจรจาให้ได้ และเมื่อไม่กี่วันมานี้เองรัสเซียก็ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างโหดรวดเดียว 10.5% จาก 9.5% สู่ระดับ 20% เพื่อสกัดเงินเฟ้อมาแล้ววว ซึ่งทำให้ทั่วโลกต้องกลับมาย้ำเตือนกันอีกครั้งว่า เงาของภาวะคล้ายสงครามเช่นนี้อีกด้านคือราคาน้ำมันกำลังพุ่งทำ New High ทะลุไป $105 แล้ว นั่นหมายความว่า เงินเฟ้อเป็นภัยที่ธนาคารกลางต่าง ๆ อย่างเฟดก็มิอาจมองข้ามเช่นกัน เพราะในอดีตเคยมีบทเรียน Stagflation ให้เห็นมาแล้วว่าช่วงปี 1970-1983 จากเงินเฟ้อ 6% ขึ้นลงไปมาตามการขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จนมาสู่เงินเฟ้อ 13.5% ทำให้ต้องยอมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 18% ในที่สุด แต่สิ่งที่เราคาดเดาไม่ได้คือ สุดท้ายแล้วหากบีบคั้นกันมาก ๆ ปธน.ปูตินตัดสินใจเช่นไร ขณะที่หากเศรษฐกิจแย่ลงมากๆ จากผลกระทบที่เกิดจากวิกฤต ยูเครน รัสเซีย ราคาพลังงานสูงลิบจากมาตรการคว่ำบาตรแล้ว เฟดจะเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่และควรขึ้นเท่าไหร่เพื่อตอบสนองต่อปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หรือ ควรชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปก่อนเพราะเกรงจะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจหรือไม่ก็มิอาจคาดเดาได้ ดังนั้นการตั้งสมมติฐานและกำหนดกลยุทธ์หลายแบบไปตามสถานการณ์น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่า ..อ่านต่อกลยุทธ์หน้า 2
CASE 1: โลกไม่อยากให้เกิดคือ สงครามนิวเคลียร์ หรือเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 = คงต้อง Follow Buy
CASE 2: ดูเป็นไปได้ = สงครามรัสเซีย ยูเครน ยืดเยื้อ แต่จำกัดเฉพาะพื้นที่ยูเครน + ตะวันตกทำได้เพียงส่งอาวุธ คว่ำบาตรเพิ่ม + เฟดขึ้นดอกเบี้ยตามคาด หรือเกินคาดเล็กน้อย = รอย่อตัวน่าเข้าลงทุน 1868/1810
CASE 3: ดูเป็นไปได้ = สงครามรัสเซีย ยูเครน ยืดเยื้อ แต่จำกัดเฉพาะพื้นที่ยูเครน + ตะวันตกทำได้เพียงส่งอาวุธ คว่ำบาตรเพิ่ม + เฟดไม่ขึ้นดอกเบี้ย = 1994/2040/2097 ไม่ไกลเกินเอื้อม /ไม่คาดหวังการหลุด 1880
CASE 4: ดูเป็นไปได้ = สงครามรัสเซีย ยูเครน ยืดเยื้อ แต่จำกัดเฉพาะพื้นที่ยูเครน + ตะวันตกทำได้เพียงส่งอาวุธ คว่ำบาตรเพิ่ม + เฟดขึ้นดอกเบี้ยเกินคาดไปไกลอย่างคาดไม่ถึง = รอลงลึก เข้าสะสม 1798/1720
CASE 5: ดูเป็นไปได้ = รัสเซีย-ยูเครน จบที่โต๊ะเจรจา เฟดขึ้นดอกเบี้ยตามคาด = คล้าย Case 2
CASE 6: ดูเป็นไปได้ = รัสเซีย-ยูเครน จบที่โต๊ะเจรจา เฟดขึ้นดอกเบี้ยแบบที่คาดไม่ถึง = เลวร้ายกว่า Case 4
สำหรับการเข้าลงทุนในราคาทองคำไทยจะพิจารณาจาก Gold Spot เป็นหลัก
ปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำอยู่ในอาณาเขต Handle Cup
หากพิจารณาจากปัจจัยทางเทคนิค ค่าเงินบาทสามารถปรับตัวอ่อนค่าได้อย่างต่อเนื่องเมื่อสามารถ Break แนวต้าน 32.82 และ 33.18 ได้อย่างต่อเนื่อง เช่นกัน ทั้งนี้สถานการณ์ หรือ ปัจจจัยพื้นฐานก็ควรมีความเป็นใจ อาทิ เช่น เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่คาดคิด แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามคาดสถานการณ์ในยูเครนก็ควรแผ่วลงด้วยเช่นกัน หรือ จากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียโดยตัดออกจากระบบการเงินโลก กลับเป็นการเพิ่มช่องทางให้ หรือกดดันให้รัสเซียหันเข้ามาในตลาด Cpytro (Bitcoin) มากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ก็ถือเป็นส่วนสนับสนุนให้เทคนิคของการอ่อนค่าของค่าเงินบาทได้ไม่ยาก และค่าเงินบาทไม่ควรกลับมาหลุด 31.62 อีก