สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 5 เรื่องหลักคือ
1.ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจสหรัฐที่เป็นตัวชี้วัดทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย เช่น NFP,
Unemployment rate, CPI YoY, PCE
2.การประชุมของธนาคารกลางสำคัญ FED BOE ECB BOJ BOT
3.มาตรการคว่ำบาตรชาติตะวันตก และรัสเซียจะลดกำลังการผลิตน้ำมัน 500,000 บาร์เรล
4.การคลื่อนไหวของราคาพลังงานทั้งในตลาดโลกและตลาดสหรัฐ
5.ความเคลื่อนไหวสงครามรัสเซีย ยูเครน
ภาพรวมเดือนที่ผ่านมาที่ส่งผ่านมาสู่เดือนนี้คือ ความกังวลว่า เฟดจะขยายมาตรการการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องไปอีกจากเดิมที่เคยคาดว่า Terminal Rate ควรหยุดที่ระดับ 5.1% แต่แล้วเมื่อมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อหลาย ๆ ตัวของสหรัฐล่าสุด เช่น CPI YoY เริ่มลดลงไม่มากนัก คือจาก6.5% เหลือเพียง 6.4% ตัวเลข PCE กลับเด้งขึ้นจาก 5.0% YoY เป็น 5.4% YoY ในขณะตลาดแรงงานยังคงตึงตัว NPF จ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนตำแหน่งมากกว่าคาดไปเกิน 2 เท่าตัว อัตราการว่างงานต่ำสุดระดับ 4.3% ทำให้เกิดความกังขาว่า อาจจะเป็นแรงผลักดันให้เงินเฟ้อเด้งขึ้นได้ หรือ การปรับตัวลงในช่วงกลางไม่ใช่เรื่องง่าย นักเศรษฐศาสตร์หลาย ๆ ท่าน รวมถึงคณะกรรมการเฟดบางท่านก็ยังให้น้ำหนักไปว่าเฟดไม่ควรใจอ่อนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อกดเงินเฟ้อสู่ระดับเป้าหมาย บางท่านให้น้ำหนักว่าเดือนนี้ควรขึ้น 0.5% ด้วยซ้ำ บางท่านก็ยังให้น้ำหนัก 0.25% หรือ ขยายระยะเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปอีกและอาจไปถึง 5.375% โดยยังไม่ท่าที่แน่ชัดว่าจุดนั้นจะเป็นจุดสูงสุด สำหรับทางเราคาดว่าข้อมูลที่เกิดขึ้นเพียง เดือนเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการปรับเปลี่ยนมุมมองของเฟดเดิมที่ให้ไว้ว่ารอบนี้ควรจะขึ้นเพียง 0.25% เพราะกว่าจะถึงรอบการประชุมเฟดในช่วงปลายเดือนอย่างน้อย ตลาดจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขอีกหลายตัวเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาดอกเบี้ยเช่น NFP, Unemployment rate, CPI YoY, PCE ซึ่งหากตัวเลขทีออกมาสื่อถึงความตึงตัวของตลาดแรงงานที่ลดลง หรือ เงินเฟ้อยังคงลดลงอยู่ ตลาดก็จะกลับมาคาดหวังการปรับขึ้นในขนาดที่เล็กลงเช่นเดิมอีก การรีบาวน์อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่หากพิจารณาจากปัจจัยอื่นที่กำลังเข้ามาเพิ่มคือ มาตรการตอบโต้ของรัสเซียที่จะลดกำลังการผลิตน้ำมัน 500,000 บาร์เรล ทำให้การรีบาวน์ยังคงจำกัดและไม่อาจลดความเสี่ยงปรับฐานระยะกลางที่ยังคงมีอยู่ได้ ดังนั้น จึงเชื่อว่าการรีบาวน์ในรอบเดือนยังคงมี แต่เป็นรีบาวน์เพื่อปรับฐานลงมาอีกระดับเช่นเดิม
Technical: Rebound for Sideway Down
ภาพรวมกราฟเทคนิครายเดือนเข้าสู่โหมดการพักฐาน และ ยังไม่พบสัญญาณการกลับตัวแต่อย่างใด ขณะรายสัปดาห์ RSI แตะ 50 เกิดการชะลอการลงระยะสั้นทำให้สามารถลุ้น Technical Rebound ในช่วงต้นเดือนได้ ด้วยแรง Oversold ที่เกิดขึ้นเพียงใน Time-fame ย่อย ๆ ตั้งแต่ DAY ลงไป ทำให้ภาพการรีบาวน์ในรายเดือนยังคงจำกัดอยู่มาก พิจารณาแนวต้านจำกัดที่ 1850 /1865-75 หากไม่ผ่านต้านหนึ่งต้านใดระวังการพักฐานอีกชุด
แนวโน้มค่าเงินบาท
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในเดือนนี้ นอกจากต้องติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งหลัก ๆ ก็มาจากเดิมตลาดตั้งหวังว่าน่าจะเริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและคงในที่สุด แต่เมื่อตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐจะเริ่มเด้งขึ้นมากกว่าคาด ประกอบกับตลาดแรงงานที่ตึงตัวทำให้ความคาดหวังดังกล่าวถูกเปลี่ยนอีกครั้งจากคาดว่าจะสิ้นสุดเร็ว กลายเป็นยืดเยื้อ รวมถึงขนาดการปรับขึ้นแต่ละรอบอาจจะไม่ใช่ 25 bps.เสมอไป ทำให้ดอลลารกลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างมาก Bond Yield สหรัฐ 2Y และ 10Y ก็ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 4.82% และ 3.95% ตามลำดับ สนับสนุนค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า กดดันค่าเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติก็ดูเหมือนยังไม่มั่นใจเสียรภาพทางการเมืองในประเทศมากยัก หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แจ้งต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าจะประกาศยุบสภาในเดือน มี.ค.เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป แต่ก็ยังไม่มีการระบุวันที่ที่แน่ชัด เราก็จะเริ่มเห็นการอ่อนค่าของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่องอีกช่วงจากระดับ 34.50 จนปัจจุบันแตะ 35.35 เข้าไปแล้ว ตลาดหุ้นมีการปรับร่วงลงอย่างต่อเนื่องตามเงิน Fund-Flow ที่ไหลออก อาทิเช่น Fund-Flow ในตลาดหุ้นทั้งรอบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนก็ยังเป็น NET – ลบ 6 หมื่นกว่าล้านบาทเลยทีเดียว ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาได้ปัจจัยภายในก็ต้องเอื้อำนวย อาทิเช่นการกำหนดวันยุบสภาที่แน่นอน หรือมีมาตรการรับรองใด ๆ ว่าการเลือกตั้งในประเทศตามที่ กกต.เคยประกาศไว้วันที่ 7 พ.ค.ว่าจะมีการเลื่อนเข้าเลื่อนออกอีกหรือก็มีส่วนสำคัญ และหลังจากนั้นก็ต้องมาดูนโยบายพรรค และตัวบุคคลที่มีโอกาสได้รับเลือก ก็ยังมีส่วนที่จะสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชติได้ แต่หากไม่มีความชัดเจนการอ่อนค่าที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำไทยในช่วงครึ่งเดือนแรกได้
Strategy: “ ทองคำไทยเล่นรอบในกรอบ แบ่งขายทำกำไรแนวต้าน 30350 / 30550-600 เพื่อรอรอบ ปรับฐานสะสมใหม่ 29800 / 29650 ”
Technical - THB
พบสัญญาณ Overbought รายวัน ขณะที่รายสัปดาห์ รายเดือนยังไม่พบ Bearish Divergence นับตั้งแต่ทะลุ 35.25 เกิดแรง Panic การอ่อนค่าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หากไม่ผ่านต้านหนึ่งต้านใด อาทิเช่น 35.45-62 / 35.90 หรือ 36.16 ตามลำดับ ก็ควรระวังการพักฐานแรงเช่นเดียวกัน