สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 5 เรื่องหลักคือ
- การประชุมของธนาคารกลางสำคัญๆ เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เช่น 2 พ.ย. FOMC meeting / 3 พ.ย. BOE Meeting / 10 พ.ย. ประชุม กนง.
- ปัญหาความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ รัสเซีย–ยูเครน กระทบ Supply พลังงาน และอาจมีผลต่อการส่งออกธัญพืชของยูเครนในอนาคต
- การประกาศตัวเลข CPI สหรัฐ 10 ก.ย. / ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐ
- OPEC+ จะเริ่มลดกำลังการผลิตวันละ 2 ล้านบาร์เรลมีผล 1 พ.ย.
ช่วงเดือนที่ผ่านมามีปัจจัยมากมายเข้ามา ทำให้ทองคำเกิด Technical Rebound 1730 แต่ก็ยังไม่สามารถทะลุหรือยืนเหนือแนวดังกล่าวขึ้นมาได้จึงยังไม่สามารถเปลี่ยนภาพรวมรายเดือนจากแนวโน้มขาลงก่อนหน้ากลับเป็นขาขึ้นได้สำเร็จ สำหรับเดือนนี้มีปัจจัยที่ส่งผ่านมาจากเดือนก่อนและยังคงประเด็นสืบเนื่องในเดือนนี้ คือ ความคาดหวังว่าเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบ Jumbo rate 0.75% ในเดือนนี้ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มมีการผ่อนคลายมุมมองการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบหน้าเดือนถัดไปมากขึ้นจาก 0.75% เป็น 0.50% และก็มีประธานเฟดบางสาขา เช่น แมรี เดลี ประธาน เฟด สาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า เฟดควรจะเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แล้ว ประเด็นนี้ได้กลายเป็นกระแสความคาดหวังอย่างมาก ว่า หากเฟดมีการส่งสัญญาณดังกล่าวขึ้นมาจริง ๆ ทองคำอาจจะชะลอการลงและปรับตัวเป็นขาอีกครั้งก็เป็นได้ แต่ก็ยังมีประเด็นที่น่ากังขาอยู่อย่างหนึ่งว่า ท่านอย่าลืมว่า ตอนนี้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐยังไม่ได้ลงไปสู่ระดับเป้าหมายแต่อย่างใด แต่กลับเป็นคอขวดเหนือ ระดับ 8% จนถึงทุกวันนี้ ในทางกลับกันหากประเด็น ยูเครนเกิดประทุขึ้นมาอีกจนทำให้การส่งออกธัญพืช เกิดการสะดุดขึ้นมาอีกครั้ง หรือ ปัญหาพลังงานกลับมาเป็นประเด็นมากขึ้นจะมีความเป็นไปได้อีกหรือไม่ที่แผน Step down ดอกเบี้ยจะสำเร็จ ประเด็นของอังกฤษก็น่าติดตามไม่แพ้กัน เพราะช่วงที่ผ่านมาด้วยนโยบายของผู้นำคนเดิมเกี่ยวกับมาตรการภาษีก็คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทให้ดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง แต่ทว่าปัจจุบันมีการเปลี่ยนผู้นำนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เป็นคุณริชี ซุนนัค อดีต รมว.คลังอังกฤษ ที่มีท่าทีว่าจะปรับขึ้นอัตราภาษี ลดการใช้จ่ายภาครัฐที่ทำให้ในช่วงแรกเงินปอนด์ตอบรับในเชิงแข็งค่าขึ้น กระทบดอลลาร์อ่อนค่า ทองคำเกิด Technical Rebound ถือเป็นนโยบายทางเดียวกับ BOE ที่ต้องดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจนโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.25% ว่ามาตรการดังกล่าวจะต่อเนื่องพอที่จะกดอัตราเงินเฟ้อให้ล่วงสู่ระดับเป้าหมายโดยได้หรือไม่ เพราะหากนโยบายล่าช้า ปชช.จะเป็นฝ่ายได้รับผลกระทบสุดท้ายจะย้อนกลับมาที่ค่าเงิน ความน่าสนใจลงทุนที่สุด ส่วนประเด็นเสริมอื่น ๆ ที่จะมาทำให้ทองเกิด Technical Rebound ได้บ้างคือ การพยายามเข้าแทรกแซงค่าเงินของทั้ง ธนาคารกาลางญี่ปุ่น หรือ ธนาคารกลางจีนมากขึ้นในช่วงหลัง ๆ แม้จะยังไม่ประสบความสำเร็จเพราะนโยบายที่ย้อนแย้งในตัวเอง แต่ก็ถือว่าละเลยไม่ได้ ท้ายที่สุดนี้ หากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่จะประกาศเดือนนี้ยังคงพุ่งสูงขึ้นอยู่ ตามราคาพลังงานที่เริ่มเลี้ยงตัวขึ้น และเฟดก็มีท่าทีที่จะมุ่งประเด็นไปที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Jumbo rate ต่อไป โดยไม่กลาวถึงการ STEP Down ดอกเบี้ยเลย ประกอบกับด้วยแต้มต่อที่ว่าอัตราดการว่างงานยังคงต่ำ ตัวเลข GDP ล่าสุดออกมาเป็น +2.6% ก็ยังคงมีพื้นที่ให้เฟดสามารถเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังเดิม ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาก่อนหน้าก็จะให้ Effect ต่อทองคำตรงกันข้าม แรงกกดดันด้านลบจะมีเข้ามามากขึ้น หากเรากลับมาสังเกตเทคนิค และ พบว่า สอดคล้องในเชิงการรีบาวน์เพื่อลงคือไม่สามารถทะลุ 1730 ขึ้นไปได้ หรือหลุด 1610 ลงมาก็จะถือเป็นโอกาสดีของรอบสะสมใหม่
ปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำยังอยู่ในเทรนด์ขาลง
ดังกล่าวกลยุทธ์การลงทุนการลงทุนแบบ Play Safe จึงให้น้ำหนักเชิงปรับฐาน ตั้งรับจะดีกว่า…
- ย่อตัวเข้าซื้อ 1621-16 กรณีหลุด 1600 ควรตั้ง Stoploss ทันที
- กรณีหลุด 1600 รอเข้าซื้อเล่นรอบ และ สะสมใหม่บริเวณ 1575 / 1532
แนวโน้มค่าเงินบาท
การคาดการณ์แนวโน้มราคาทองคำไทย
ราคาทองคำไทยเน้นย่อตัวเข้าซื้อสะสม โดยแบ่งรอบเข้าเป็น 2 เงื่อนไข คือ
เงื่อนไขที่ 1 : หาก Gold Spot สามารถยืนฐาน 1615-10 ได้ รอบเข้าซื้อจะแบ่งเป็น
– บาทยังอ่อนค่าต่อปกติ = 29400-300
เงื่อนไขที่ 2 : หาก Gold Spot หลุด 1610 ลงมา ควรเว้นระยะสำหรับการเข้าซื้อสะสม เป็นรอบกว้าง 28900 / 28650 [+/- 50-120]