สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 4 เรื่องหลักคือ

       1. US Debt Ceiling
       2.อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ
       3.QE Tapering และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
       4.ปัญหานโยบายภายในประเทศจีน จนนำมาสู่วิกฤต China Evergrande

      ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากเป็นผลสืบเนื่องเชื่อมโยงกันแบบแทบจะแยกจากกันไม่ออก วานนี้รัฐสภาสหรัฐก็ได้ผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้มีเงินใช้จ่ายจนถึง 3 ธ.ค.แต่ยังไม่ได้มีการขยายเพดานหนี้ และผ่านร่างงบประมาณกระตุ้น ศก.แต่อย่างใด แสดงว่า US Debt Ceiling ยังคงอยู่และมีเส้นตายที่ 18 ตุลาเช่นเดิม หากรัฐสภาไม่สามารถขยายเพดานหนี้ หรือ ระงับเพดานหนี้ได้สหรัฐก็จะมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ครั้งแรก และอาจนำมาซึ่งการถูกลดความน่าเชื่อถือลงอย่างที่เคยเกิดในปี 2011 หากจะพิจารณาเนื้อหาให้ลึกลงไปอีก เหตุที่วุฒิสมาชิกรีพับรีกันไม่ยอมขยายเพดานหนี้ให้ เพราะงบประมาณที่จะให้นั้นดันไปรวมกับงบ American Job Plan และ American Family Plan ที่มีมูลค่ารวมกัน $3.5 Trn โดยอ้างว่าไม่เห็นด้วยกับการหารายได้จากการขึ้นภาษี แต่อันที่จริงก็น่าจะเป็นเรื่องปัญหาการเมืองนั่นแหละ ทั้งนี้ท้ายที่สุดก็เชื่อว่ารัฐสหรัฐจะผ่านร่างกฏหมายนี้ในที่สุด แต่จะมาในรูปแบบไหน ระหว่างระงับเพดานหนี้ออกไปก่อนเพื่อให้รัสามารถมีเงินใช้จ่ายชั่วคราวถึง 3 ธ.ค. หรือ จะขยายเพดานหนี้แบบมีวงเงินงบ $3.5 Trn.ติดเข้ามาด้วย ย่อมส่งผลต่อทองคำต่างกัน กล่าวคือ คือ หากเป็นแบบระงับเพดานชั่หนี้ชั่วคราว ตลาดจะแค่คลายความกังวล อันนี้จะส่งผลลบต่อทองคำได้ แต่หากเป็นการขยายเพดานหนี้โดยมีงบ $3.5 Trn.เข้ามาด้วยตามการหาเสียงของไบเดนก่อนหน้าซึ่งหากมาเทียบกับสมัย ทรัมป์แล้ว ถือว่าวงเงินรอบนี้ใหญ่เกือบ 2 เท่า แต่หากจะรวม Infranstrucre bill จ่อเข้าสภาเช่นกันนเดือนนี้อีก $1 Trn.และ $1.9 Trn. ก่อนหน้าก็ถือว่ามากกว่าสมัยทรัมป์ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว ประเด็นแบบนี้จะถือป็นผลบวกกับราคาทองคำโดยปริยายทันที แม้ว่าเรื่องนี้จะดูยากแต่ก็น่าลุ้นค่ะ  สำหรับประเด็นที่ 2 คงหนี้ไม่พ้นเรื่องเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ของสหรัฐเองก็ราว 5.3% แล้ว หากเป็นเพียงชั่วคราวก็ไม่น่ากังวลเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยเฟดก็คงไม่รีบขึ้นก่อนผังที่วางไว้ แต่หากไม่ใช่หล่ะเพราะหลายประเทศเริ่มจ่อแววกันมาแล้ว เช่น การขาดแคลนพลังงานในประเทศจีน และ อังกฤษ ความต้องการน้ำมันหลังจากศก.หลายประเทศกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง Demand ที่เพิ่มขึ้น แต่ Supply ที่เท่าเดิม หากมาทบทวนอีกทีก็น่าห่วงอยู่มากทีเดียว ทั้งนี้โอกาสการทำ QE Tapering เร็วขึ้นมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดนั้นจะช้าหรือเร็วย่อมขึ้นอยู่กับเงินเฟ้อเป็นตัวแปรหลักอย่างหนึ่ง Buy on Fact ในตลาดทองคำจะเกิดขึ้นเมื่อใด ประเด็นที่ 2 และ 3 คงมีผลมากไม่น้อยเลยทีเดียว สุดท้ายการออกกฎเกณฑ์จัดระเบียบอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของจีนจนเป็นสาเหตุหนึ่งให้เกิดวิกฤต China Evergrande ผลกระทบดังกล่าวจะลามไปมากน้อยแค่ไหนอย่างไร คงเป็นสิ่งตลาดต้องจับตาอย่างยิ่ง เพราะจีนก็ถือเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลกเลยทีเดียว……….

พิจารณาปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำยังอยู่ในอาณาเขตของการทำ Handle Cup อยู่

.. ด้วยสถานการณ์ที่กล่าวข้างต้นยังคงเป็นลบต่อทองคำอยู่เบื้องหน้า จนกว่า สหรัฐจะผ่านงบประมาณขนาดใหญ่ $3.5 ล้านล้าน  หรือมีปัจจัยบวกอื่นทดแทน ขณะที ปัจจัยเทคนิคเลี้ยงตัวขึ้นช่วงสั้นในกรอบ 1720 -1790 จากความกังวล US Debt Ceiling &วิกฤตในจีนหลายด้าน แต่ตราบใดที่ทองคำยังไม่ Break 1830 ก็ยังคาดหวังการปรับฐานอีกระลอก คือ

              “1696 [เล่นรอบ] /  1610-06 [สะสม 20-25%]”

         ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าก็มีอยู่หลายประการ อาทิ การขยายเพดานหนี้ของไทยจาก 60% เป็น 70% ทำให้สามารถดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปได้ ประกอบกับความกังวลที่ว่าเฟดจะทำ QE Tapering ในเดือน พ.ย.เป็นการดึงให้เม็ดเงิน Fund Flow ไหลออกจาก Emerging Market รวมถึงไทยเข้าลงทุนในดอลลาร์ จะเห็นได้ว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าอย่างมากจาก 92.07 สู่ระดับ 94.51 ในฐานะสินทรัพย์หลบภัยจากความกังวลต่อสภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นในระยะหลัง ที่ทำให้บางประเทศต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากพิจารณาทางปัจจัยเทคนิคประกอบเงินบาทยังคงติดแนวต้านย่อย ๆ ราว 33.85-95 เพื่อเกิดการพักฐานปรับ Indicators 33.54/32.95 และโดยเบื้องต้นไม่ควรหลุด 32.95 จึงจะคาดหวังการกลับมาทดสอบแนวต้านเดิมอีกรอบ หาก Break ได้ค่อยให้มุมองเชิงบวกต่อการอ่อนค่าต่อโดยมีต้านทดสอบ 34.23/34.53 ตามลำดับ
          โดย แนวต้าน ของค่าเงินบาทรายเดือน   34.23 / 34.53 / 35.42
          และ แนวรับ ของค่าเงินบาทรายเดือน   33.54 / 32.95 / 31.81

กลยุทธ์ของกรอบราคาทองไทย 96.5%

         ด้วยปัจจัยข่าวที่เข้ามากดดันแต่ละช่วงให้ผลกับทองคำต่างกัน อาทิเช่นช่วงแรก ตลาดยังคงกังวลกับ เส้นตายของ US Debt Ceiling ทำให้ Gold Spot เลี้ยงตัวขึ้นในช่วงสั้น แต่เงินบาทปรับฐานแข็งค่าลงมาแทน ทำให้ราคาไทยถูกจำกัดกรอบแนวต้านไว้เพียง 28200-28300 และหากไม่สามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวขึ้นไปได้อีก โดยที่งบกระตุ้น ศก.ของสหรัฐก็ยังไม่มีวี่แววเข้ามาสมทบได้ทัน ก็ควรระมัดระวังการปรับฐานอีกรอบ เพราะเดือนหน้าก็ยังมี QE Tapering แระกอบกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นหากไม่ใช่เกิดเพียงระยะสั้น กระแสปรับดอกเบี้ยเร็วขึ้นก็จะเริ่มเข้ามามีบทบาท หากเป็นเช่นนั้นก็ควรระมัดระวังการปรับฐานอีกครั้งโดยคาดหวังการตั้งรับไว้ 3 จุดหลักคือ 27,550  / 27,080[+/- (50-120)] / 26,650[+/- (50-120)]