สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 3 เรื่องหลักคือ
สำหรับปัจจัยที่น่าจับตาในเดือนนี้ มี อยู่ 3 เรื่องหลักคือ
1.ปัญหาความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ รัสเซีย–ยูเครน / การคว่ำบาตรพลังงาน ทำให้ราคาพลังงานยังทรงตัวแดนสูง ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ: เช่น
– 31ส.ค.-2ก.ย. Gazprom จะปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 เพื่อซ่อมบำรุง
– 5 ก.ย. OPEC Meetings
- การประชุมของธนาคารกลางสำคัญๆ เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เช่น 9 ก.ย. ECB meeting / 15 ก.ย. BOE Meeting / 21-22 ก.ย. FOMC และ 28 ก.ย. ประชุม กนง.
- FED เริ่มเพิ่มปริมาณ QT จากเดือนละ 47.5 bn เป็น 95 bn
- จับตาการประกาศตัวเลข CPI สหรัฐ 13 ก.ย.
- ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐ
ผ่านมาแล้วเกือบ 3 ไตรมาสของทองคำปีนี้ที่เราได้เห็น High 2068 จากปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครนที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้จริงในวันที่ 24 ก.พ.และยืดเยื้อสร้างปัญหาระยะยาวมาถึงผลกระทบด้านราคาพลังงาน วิกฤตอาหารไปทั่วโลก แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ผู้ประสบปัญหาอย่างหนักหน่วงนอกจากยูเครนแล้วคงหนีไม่พ้นยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษที่เงินเฟ้อปาเข้าเลข 2 หลัก 10.1% แต่ก็ไม่แคล้วเหล่าบรรดานักวิชาการผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อคงไม่หยุดแค่นี้แต่อาจแตะ 18% กันเลยทีเดียว เงินเฟ้อถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธนาคารกลางต่าง ๆ เกือบ 80 ประเทศ ทั่วโลกพากันขึ้นอัตราดอกเบี้ยยืนพื้นกันแล้วที่ 50 bps. FED เป็นธนาคารกลางของสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบ Aggressive มา 2 ครั้งติด คือ 75 bps. ซึ่งล่าสุดถ้อยแถลงของคุณเจโรม พาวเวล ที่งานวิชาการประจำปีที่ Jackson Hole ที่กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การเติบโตที่ช้าลง และสภาวะตลาดแรงงานที่อ่อนตัวลงจะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดให้กับครัวเรือนและภาคธุรกิจด้วย แต่ความล้มเหลวในการฟื้นฟูเสถียรภาพด้านราคาย่อมหมายถึงความเจ็บปวดที่ยิ่งใหญ่กว่ามาก”ซึ่งนักลงทุนก็มีการตีความไปหลายแบบแต่โดยรวมยังคงมองว่าเฟดจะเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ ตัวเลข CME FEDWatch ล่าสุดกลับมาให้น้ำหนักว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบนี้ที่ 75 bps.มากถึง 70.5% ประกอบกับเดือนนี้จะเป็นเดือนแรกที่ที่ FED จะปรับเพิ่มปริมาณ QT จากเดือนละ 47.5 bn เป็น 95 bn ถือเป็นการต้อนรับเดือนที่ไม่เป็นมิตรกับทองคำเท่าที่ควร แต่ในตลาดก็ยังมีปัจจัยบวกอื่นพยุงทองคำให้เวลาปรับฐานมักมีแรงซื้อเข้ามาเป็นระยะ อาทิ เช่น การที่ยุโรปเดินหน้าคว่ำบาตรพลังงานรัสเซีย จนกระทั่งรัสเซียเดินเกมส์ปิดท่อส่งก๊าซอ้างว่าซ่อมบำรุงบ้าง ขัดข้องทางเทคนิคบ้าง ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเช่นใดก็ไม่มีใครทราบ แต่ที่แน่ ๆ เกือบแทบทุกครั้งมักส่งผลกระทบให้ค่าก๊าซในยุโรปขยับขึ้นต่อเนื่องก็ทำเอายุโรปใจหายใจคว่ำอยู่หลายครั้ง ล่าสุด Gazprom ประกาศจะปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 เพื่อทำการซ่อมบำรุง 31 ส.ค.-2 ก.ย. และหลังเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุง บริษัทจะจัดส่งก๊าซในปริมาณ 33 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน ขณะที่ OPEC ก็มิได้มีท่าทีว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตแต่อย่างใด แต่กลับผลิตต่ำกว่า Capacity ด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงไม่อาจสรุปได้เลยว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐล่าสุดที่เราเห็นว่าลดลงจากระดับ High สุด 9.1% มาอยู่ที่ 8.5% คือการลดลงอย่างทีนัยะสำคัญแล้วจริงๆ เดือนนี้จะมีการประชุมธนาคารกลางหลายแห่งที่จะมาช่วย Break ความร้อนแรงของการแข็งค่าของ Dollar Index ลงได้บ้าง เช่น ECB ที่คาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% / BOE ที่คาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% และท้ายสุดปลายเดือนจะมีการประชุม กนง.ซึ่งรอบที่แล้วเพิ่งจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปครั้งแรก 0.25% คงต้องติดตามกันต่อว่ารอบนี้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเงินบาทในระยะสั้น สุดท้าย หากเรากลับมาพิจารณาปัจจัยทางเทคนิค ฐาน 1680 ถือเป็นฐานสำคัญลงมาคราวก่อนก็ทำให้เกิดรอบเด้งมาได้ 1808 น่าเสียดายที่ไม่สามารถผ่านจุดเปลี่ยนทางเทคนิค 1820 ขึ้นมาได้ทำให้เราต้องกลับมาวนยู่กับการสร้างฐานใหม่กันอีกครั้ง ซึ่งตราบใดที่ทองคำยังไม่หลุด Double Bottom ก็ยังคาดหวังการพยายามยก Low เหนือ 1680 ซึ่งหากทำไม่ได้จริงๆอย่างน้อยก็ควรไม่หลุด 1670 ก็จะถือเป็นนิมิตหมายทีดีให้ยืนหยัด BET หน้า BUY อยู่ได้…แต่หากท้ายที่สุดแล้ว มีปัจจัยลบใดๆ ที่เข้ามาเพิ่มเติมนอกเหนือ และทำให้ทองหลุดแนวฐานดังกล่าวคือ 1670 ก็ควรจะหาทางหนีกันให้ดีๆ มิเช่นนั้นอาจพบแรง Panic Sell รอบใหญ่จึงควรระวัง สำหรับเดือนนี้..เริ่มด้วย..
“ Open Long 1690-82หากหลุด 1665 ควร Stoploss ทันที ”
เพราะบางทีอาจจะต้องตั้งหลักใหม่ไกลถึง 1632-15 ก็เป็นได้
ปัจจัยทางเทคนิค : ทองคำอยู่ในอาณาเขต Double Bottom
แนวโน้มค่าเงินบาท
การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทโดยรวมขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งช่วงที่ผ่านมาการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์อันเป็นเหตุมาจากการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดผลักดันให้ค่าเงินอื่น ๆ อ่อนค่าอย่างต่อเนื่องในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป อาทิเช่นนับตั้งแต่เฟดเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยเดือนมีนาคม เงินเยนอ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชียประมาณ 16.97% ตามมาก็เงินบาทไทยอ่อนค่าราว 10.52% พอๆกับเงินวอนเกาหลีใต้ 10.13% เปโซ ฟิลิปปินส์ติดลบ 8.78% เช่นเดียวกับหยวนของจีน ดอลลาร์ไต้หวัน ซึ่งหากเรามาดู Dollar Index ก็จะพบว่าแข็งค่าต่อเนื่องและพยายามจะ Break 109.32 อยู่หลายครั้ง อีกทั้งตราบใดที่แนวโน้มนโยบายอัตราดอกเบี้ยของเฟดยังคงเดินหน้าปรับขึ้นต่อเนื่องเพื่อปราบเงินเฟ้อที่อยู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ให้ลงมานั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ดังนั้นแนวโน้มระยะยาวของค่าเงินบาทคงอยู่ในรูปการอ่อนค่าได้ต่อ แต่ในระยะสั้นอาจจะมีการพักฐานแข็งค่าลงมาบ้างตามปัจจัยภายใน อาทิ เช่นการพยายามจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อที่พุ่งมาราว 7.6% และเดือนนี้ก็มีการประชุม กนง.เช่นกันแต่เป็นช่วงปลายเดือนหลังจากที่ FED มีมติไปแล้ว คงต้องมาลุ้นกันก่อนว่าบาทจะสามารถทะลุแนวต้านเดิม 36.88 ได้ก่อน หรือ หากยังไม่สามารถทะลุแนวดังกล่าวอาจมีลุ้นการปรับฐานอีกสักรอบ ก็จะถือเป็นจังหวะที่ดีที่สำหรับนักลงทุนซื้อทองคำแท่งรอบขา BUY หรือนักลงทุนระยะกลางยาวที่รอเข้าสะส
การคาดการณ์แนวโน้มราคาทองคำไทย
ราคาทองคำไทยเน้นย่อตัวเข้าซื้อสะสม โดยแบ่งรอบเข้าเป็น 2 เงื่อนไข 3 ลักษณะ คือ
เงื่อนไขที่ 1 : หาก Gold Spot สามารถยืนฐาน 1670 ได้ รอบเข้าซื้อจะแบ่งเป็น
– บาทยังอ่อนค่าต่อปกติ = 29520 – 400
– บาทเลือกแข็งค่าปรับฐาน = 29100 – 28850
เงื่อนไขที่ 2 : หาก Gold Spot หลุด 1670 ลงมา และบาทยังไม่ผ่าน 36.88 ควรชะลอการเข้าซื้อสะสม แต่อาจจะเป็นรอเล่นรอบเด้งเก็งกำไร ตามบทวิเคราะห์รายวันเท่านั้น