Weekly Focus
Tues.18: BOJ Press Conference and Policy rate
คาดการณ์กันว่า BOJ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม -0.10% ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% ของธนาคารกลาง แต่ต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทหลายแห่งปรับขึ้นราคาสินค้า คาดว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะคงนโยบายหลักไว้ไม่เปลี่ยนแปลงในการประชุมสองวันซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 18 ม.ค. โดยเราจะเน้นที่ราคาและแนวโน้มการเติบโต และวิธีที่ธนาคารกลางประเมินความสมดุลของความเสี่ยง เนื่องจากราคานำเข้าที่สูงขึ้นและ คลื่นลูกใหม่ของการติดเชื้อโควิด-19 นักวิเคราะห์จาก Bloomberg คาดว่า BOJ จะปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2564 เป็น 2.8% จาก 3.4% (ณ เดือนตุลาคม) แต่เพิ่มประมาณการสำหรับปีงบประมาณ 2565 เป็น 3.3% จาก 2.9% BOJ มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อสำหรับปีงบประมาณ 2564 และอาจคงแนวโน้มสำหรับปีงบประมาณ 2565 ไม่เปลี่ยนแปลง โดยการประเมินว่าการเพิ่มขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ล่าสุดจะเป็นแบบชั่วคราว
Thur.20: ECB Monetary Policy
ECB จะเผยแพร่รายงานการประชุมในเดือนธันวาคม ท่ามกลางการอภิปรายอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้น
Strategy
BET 1: ย่อ Open Long 1815/1796-93 [SL=1782]
BET 2: Rebound Open Short 1858 [SL=1865]
สำหรับในสัปดาห์นี้จะมีการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายแห่งก่อนที่จะมีการประชุมเฟดในสัปดาห์ถัดไป อาทิเช่น ธนาคารกลางญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และตุรกี โดยมีการคาดการณ์ว่า BOJ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่เปลี่ยนแปลง ที่ระดับ -0.1% แต่อาจจะปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ปี 2564 เป็น 2.8% จาก 3.4% (ณ เดือนตุลาคม) แต่เพิ่มประมาณการปี 2565 เป็น 3.3% จาก 2.9% รวมถึงมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อสำหรับปีงบประมาณ 2564 และอาจคงแนวโน้มสำหรับปีงบประมาณ 2565 ไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับ PBOC ในเรื่องของ Loan Prime Rates ของจีนมีแนวโน้มจะไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนมกราคมเช่นเดียวกับ ธนาคารกลางตุรกีที่คาดการณ์กันว่าจะคงนโยบายไม่เปลี่ยนแปลงในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 20 มกราคม ขณะที่ ลีร่ายังคงเปราะบางและอัตราเงินเฟ้อไม่สามารถควบคุมได้ หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน 500 bps.ในการประชุม 4 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับการประชุมของธนาคารกลางอินโดนีเซียที่คาดว่าอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรใน 7 วันไม่เปลี่ยนแปลงที่ 3.50% และสุดท้ายในวันเดียวกันก็คาดการณ์กันว่าธนาคารกลางมาเลเซียอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% แต่ภาพรวมการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งในปีนี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง GDP ไตรมาส 3 อ่อนแอ ในขณะที่ตัวชี้วัดชี้ให้เห็นการฟื้นตัวในไตรมาส 4 และโมเมนตัมที่แข็งแกร่งในช่วงต้นปี 2565 อย่างไรก็ตามธนาคารกลางมาเลเซียอาจรู้สึกว่ายังเร็วเกินไปที่จะเริ่มถอนมาตรการกระตุ้นทางการเงิน เนื่องจากความเสี่ยงด้านลบจากโอไมครอน นโยบายธนาคารกลางสหรัฐที่ตึงตัวมากขึ้น และการชะลอตัวของจีน กล่าวโดยสรุปการคาดการณ์ในสัปดาห์นี้ของธนาคารกลางอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเฟดยังคงมองว่าอาจเร็วเกินไปที่ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินโดยเฉพาะก่อนการประชุมเฟด ทำให้ภาพรวมปัจจัยสำหรับสัปดาห์นี้แทบจะไม่ทีเรื่องหวือหวา นอกจากการสังเกต Movement ของตลาดการเงินก่อนการประชุมเฟดเท่านั้น ท่ามกลางความกังวลว่าเฟดจะใช้นโยบายเงินที่เข้มงวดมากกว่าที่คาดก่อนหน้า จึงต้องระมัดระวังการปรับฐานระยะสั้น แต่ตราบใดที่ยังไม่หลุด 1782 ก็ถือว่าภาพรวมดูดีการทราบผลการประชุมเฟด สำหรับกรอบราคาไทยใน 2 สัปดาห์นี้ยังค่อนข้างกว้าง 28170-29130 เลยทีเดียว